น้ำยาหม้อน้ำ และวาล์วน้ำ รถยนต์ Isuzu Commonrail
ระบบหล่อเย็นในรถยนต์ หรือน้ำยาหม้อ ควรมีการเปลี่ยนถ่ายตามระยะเวลา หรือระยะทางที่กำหนด
หากเราปล่อยปละละเลย ไม่สนใจ หรือดูแลได้อย่างไม่เพียงพอ จากจุดเล็กๆ ที่ดูเหมือนว่าไม่มีอะไร
ต่อไปอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่โต ผู้ใช้รถจึงควรที่จะมีความรู้ตรงนี้บ้าง เพื่อที่จะประหยัดค่าใช้จ่าย
ในการบำรุงรักษารถยนต์ของท่านเอง การเปลี่ยนถ่ายของเหลว ก็คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกันนั่นเอง
1. น้ำยาหม้อน้ำ ของรถยนต์ Isuzu Commonrail ปริมาณการใช้ คือ น้ำยาจำนวน 3 ลิตร
ผสมกับน้ำดื่ม ต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็นในระบบ 1 ครั้ง เปลี่ยนถ่ายทุกๆ ระยะทาง 40,000 Km.
หรือประมาณ 2 ปีครั้งนึง เพื่อประสิทธิภาพในการระบายความร้อน และป้องกันสนิมในระบบหล่อเย็น

2. จัดเซ็ตแบบนี้เลยครับ สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำ Isuzu Commonrail

3. สีของน้ำยาหม้อน้ำ Isuzu ที่ทำการผสมกับน้ำดื่มแล้ว ในกรณีที่ระบบหล่อเย็น น้ำมีการลดลงไปบ้าง
แนะนำให้เอาน้ำดื่ม เติมเข้าไปในระบบเท่านั้น อย่าใช้น้ำประปา หรือน้ำบาดาล เพราะว่าอาจจะทำให้
เป็นสนิม และตะกรันในระบบหล่อเย็น

4. เปรียบเทียบ วาล์วน้ำ Isuzu Commonrail ตามอาการต่างๆ ที่ได้พบเจอมา รูปด้านหน้า
อันที่ 1 ซ้ายมือสุด วาล์วน้ำ อายุ 3 ปี 160,000 Km. รถยนต์ Isuzu 3.0 VGS ปี 2008
ของรถผมเอง ถอดออกมาศึกษาด้วยความอยากรู้ พบว่า สภาพใกล้เคียงของใหม่มาก เนื่องจาก
เปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำตามระยะ รถวิ่งเยอะ ก็เลยเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำบ่อย
อันที่ 2 ถัดมา วาล์วน้ำ อายุ 6 ปี 305,000 Km. รถยนต์ Isuzu SLX ปี 2007 ของเพื่อนผมเอง
ถอดเปลี่ยนออกมา เพราะว่า หม้อน้ำรั่วที่ตะเข็บบน ไหนๆ ก็รื้อแล้ว ทำมันซะให้ครบเลย เปลี่ยนทีเดียว
ให้จบเลย จากสภาพ พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี ตอนนี้ก็เปลี่ยนของใหม่ใส่เข้าไปแล้ว
อันที่ 3 จากสภาพพบว่า เริ่มมีสนิม ในระบบหล่อเย็นแล้ว แต่ก็ยังไม่เลวร้ายมากนัก
อันที่ 4 จากสภาพพบว่า มีสนิม คราบตะกัน ติดอยู่ที่วาล์วน้ำแล้ว โอกาสที่วาล์วน้ำอาจจะทำงาน
ผิดพลาด และก่อปัญหาให้กับระบบหล่อเย็นก็มีความเป็นไปได้มากขึ้น

5. เปรียบเทียบ วาล์วน้ำ Isuzu Commonrail ตามอาการต่างๆ ที่ได้พบเจอมา รูปจากด้านหลัง
ยังคงเรียงเหมือนเดิม อันที่ 1 อยู่ทางซ้ายสุด

6 มาดูใกล้ๆ กันหน่อย ซ้ายมืออันที่ 1 ขวามือ อันที่ 2 รูปด้านหน้า
จากสภาพ พบว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เปลี่ยนถ่ายน้ำหม้อน้ำ ตามระยะ ผลที่ได้จะเป็นแบบนี้

7 มาดูใกล้ๆ กันหน่อย ซ้ายมืออันที่ 1 ขวามือ อันที่ 2 รูปด้านหลัง
จากสภาพ พบว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เปลี่ยนถ่ายน้ำหม้อน้ำ ตามระยะ ผลที่ได้จะเป็นแบบนี้

8. มาดูใกล้ๆ กันหน่อย ซ้ายมืออันที่ 3 ขวามือ อันที่ 4 รูปด้านหน้า
จากสภาพ พบว่าอยู่ในเกณฑ์แย่ ขาดการดูแลรักษา ผลที่ได้จะเป็นแบบนี้

9. มาดูใกล้ๆ กันหน่อย ซ้ายมืออันที่ 3 ขวามือ อันที่ 4 รูปด้านหลัง
จากสภาพ พบว่าอยู่ในเกณฑ์แย่ ขาดการดูแลรักษา ผลที่ได้จะเป็นแบบนี้

การดูแลรถยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก หากเราดูแล และใส่ใจ เพื่อที่รถของเราจะได้อยู่กันนานๆ
ลดการซ่อมบำรุงแบบกระเป๋าฉีก และลดโอกาสที่รถจะไปจอดเสียระหว่างทางได้ด้วย
แนะนำว่า ควรมีสมุดบันทึกเล็กๆ สักเล่ม จดเอาไว้ว่า เราทำอะไรกับรถไปเมื่อไร
เพื่อเป็นการเตือนความจำ หรือวางแผนค่าใช้จ่ายในการเช็คระยะครั้งต่อไป