หลักการและเหตุผล
รถ All New Dmax HL เซ็ตช่วงล่างออกมาให้นุ่มรองรับการใช้งานที่หลากหลาย เน้นความสะดวกสบาย
นุ่มนวลภายในห้องโดยสารเมื่อเจอ ลักษณะสภาพถนน หนทางที่ไม่เรียบ ทางลูกรัง ทางเป็นหลุมเป็นบ่อ การเซ็ตช่วงล่างแบบนี้ ถือว่าเป็นกลางกับผู้ใช้ทั่วๆไป ในความเร็วมาตราฐาน (90) และการขับขี่แบบใช้งานทั่วไป
All New Dmax HL นี้สังเกตุจะให้ความสำคัญกับตรงนี้มาก ปรับเพิ่มความนุ่มนวล
เลยเปลี่ยนตำแหน่งการวางแหนบเป็นเหนือเพลา (ความหนึบน้อยลงกว่าแบบแหนบใต้เพลา)
ทำให้ต้องแก้ข้อด้อยด้านการทรงตัว คือแก้ไขฐานล้อกว้างขึ้น แหนบยาวขึ้น วางตำแหน่งเครื่องใหม่
ซึ่งถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่ง (อย่าพึ่งเชื่อ) ในความเร็วมาตราฐานเช่นเดิม
แต่เนื่องจาก All New Dmax HL ยังใหม่อยู่ 2012-2013 ถึงจะได้ออกแบบมาก่อนหน้านั้นจริง แต่
ไม่มั่นใจว่าทาง All New Dmax HL นั่นคำนวณช่วงล่างจากสภาพถนนที่ประเทศไทยเป็นหลักหรือไม่
เพราะ All New Dmax นี้เน้นการส่งขายและทำตลาดไปทั่วโลก ไม่เหมือนรุ่นก่อนๆ (น่าจะถามคนใช้งานระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้านบ้างสภาพทางหลายๆรูปแบบ น้อยใจ)
ปัญหาการใช้งานเดิมทดสอบ (HL) 3.0 MT เดิมๆ
1. เข้า U Turn รถมีอาการโคลงเคลงอย่างมากไม่สามารถจะเพิ่มคันเร่งได้อย่างมั่นใจได้เลยต้องปล่อยไหลให้ลำตัวตรงก่อน
2. ที่โค้งกว้างๆยาวๆ มาเร็วๆ 120-130 หากมีอะไรตัดหน้า ต้องเบรก หรือเปลี่ยนเลนไม่อยาคิดต่อ
3. ที่โค้งแคบ สั้น ๆ ออกซ้าย ไปขวา อาการของรถจะปรับตัวไม่ทัน อาการหน่วง ย้วย เกิดขึ้นมา ไม่กระชับ
4. ที่เนินคอสพาน เนินระนาด รถจะมีอาการยวบยาบ
5. ปัญหานี้ (1-3) และรถสะบัด เบรคลากล้อในโค้ง ได้ถูกดักแก้ทางและป้องกัน ด้วย TCS และ ESC แต่ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุไปแล้ว เหตุเกิดแล้วแก้ แต่ยังดีกว่าไม่มี (พี่น้องที่มีรถ HL แล้วไม่มี TCS และ ESC ต้องระวังด้วย เพราะไม่มีตัวช่วยนี้)
และอีกมากมาย เชื่อได้ว่า ISUZU ต้องแก้ไขต่อไป (ถ้าเค้าพังความคิดเป็นคนไทยนะเป็นหลัก)
สรุป
ปัญหาข้างต้นที่กล่าวมา
การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ประหยัดที่สุดคือ (สำหรับผม) ใส่เหล็กกันโคลง
เกจิรถหลายคน บอกลองเปลี่ยน โช็ค ก่อน แต่สำหรับผมคิดว่า โช็คที่ไม่สามารถปรับระดับได้
อาจจะทำให้ปัญหาไม่จบ (ต้นละ 1800-2000) เพราะไม่ยืดหยุ่นปรับไม่ได้อาจแข็ง หรืออ่อนไป และต้องถอดโชคเดิมๆ ทั้งที่ยังพอใช้ได้ออกด้วย
ถ้าจะเปลี่ยนโช็คแนะนำระดับ MX6 Rancho Winner หรืออะไรก็ได้ที่ผ่านมาตราฐาน และปรับระดับได้ เพราะมีความยืดหยุ่นกว่า อย่าไปเชื่อโฆษณามาว่าหนึบ เพราะมันอาจมาพร้อมกับความกระด้าง ไม่ให้ตัว โช็คเป็นเรื่องของความละเอียดอ่อน หนึบใครหนึบมัน พฤติกรรมการขับขี่ไม่เหมือนกัน ต้องคิดอย่างรอบคอบ
ข้อดีเหล็กกันโคลง
1. วิ่งทางตรงๆนิ่งกว่าเดิมไม่ร่อนไม่ส่าย ไม่สั่น มั่นใจขึ้นกว่าเดิม
2. เข้าโค้งยาวๆ ได้ความเร็วเพิ่มมากกว่าเดิม และนิ่ง มีเอนให้ตัวบ้าง แต่ไม่ยวบยาบ
3. หักเลี้ยว หักหลบกระทันหัน ทำได้ดีและเพิ่มความมั่นใจผู้ขับขี่
4. เป็น Step เริ่มต้นกับผู้ที่คิดจะปรับช่วงล่างให้ดีขึ้น อย่างประหยัด
5. เพิ่มความปลอดภัย กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
6. ได้ความสวยงามของรถเพิ่มขึ้นนิดๆ เมื่อมองจากด้านหลัง
ข้อเสียของเหล็กกันโคลง
1. มีความกระด้างเพิ่มบ้าง แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไรเลย บางคนแทบไม่รู้สึก เพราะเรายังใช้โช็คเดิมอยู่
2. เวลาเข้าโค้ง ออกซ้าย ออกขวา ขึ้นเขา โค้งเร็ว ซิกแซ่ก (ขึ้นลงเขา) จะมีอาการดึง ฝืนๆตัวอยู่บางที
ล้อหลังล้อหนึ่งยก เพราะเพลาถูกยึดกับแชทซี มาก (ไม่มั่นใจว่าจะทำให้ถังบิดหรือไม่ สำหรับคนที่ต้องเที่ยวขึ้นลงเขา)
3. ไม่เหมาะจะไปวิ่งแบบสลาลม หรือเอาไปแข่ง
ฟันธง ระดับผู้ขับขี่ทั่วไป ควรจะมีติดรถ ไม่เสียหาย
ข้างต้นเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ลองใช้กับตัวเอง จากประสบการณ์จริง กับทางหลายๆรูปแบบ 8000 กม.
อยากนำข้อมูลเหล่านี้มากบอกพี่น้อง น้าๆ ชาว All New DMAX Club เพื่อเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจและเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น..

แต่งรถได้ เข้าเว็บ Club ได้ อย่าลืมให้เวลากับ ผบ.ด้วยนะคร้าบบบบ (บ่นเข้าแต่เว็บเดียว 5555)
