ประเภทน้ำมันเครื่อง
แยกย่อยออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน
ตั้งแต่ Group 1 - 3 เป็นน้ำมันเครื่องที่ทำมาจาก น้ำมันดิบ หรือ น้ำมันตามธรรมชาติ
Group 1 - น้ำมันเครื่องเกรดธรรมดา (Base Oil)
- เป็นน้ำมันพื้นฐานที่ใช้กันทั่วไป อายุการใช้งานประมาณ 5,000 กม.
Group 2 - น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ( Semi Synthetic)
- เป็นการนำน้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic) มาผสมกับ Base Oil โดยมีส่วนผสมของสารสังเคราะห์โดยเฉลี่ยไม่เกิน 10 - 15 %
Group 3 - น้ำมันเครื่องสังเคราะห์(เทียม) (Synthetic)
- น้ำมันสังเคราะห์เทียม หรือ ที่แป๊ะที่กระป๋องว่า (Synthetic) เพราะยังมีส่วนผสมของ Base Oil อยู่
* เนื่องจากตัวทำละลายสารเพิ่มคุณภาพมีราคาแพง จึงเอาน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้เป็นตัวทำละลาย อาจจะมีส่วนผสมของ Base Oil อยู่ 10 ? 15 % ในแต่ละยี่ห้อก็มีการผสมแตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ราคาไม่สูงมากนัก แล้วอ้างว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ น้ำมันเครื่อง Synthetic และบางทีก็หาทางออกโดยใช้คำว่า Synthetic Technology หรือใช้คำ Synthetic ร่วมกับคำอื่นๆ เป็นน้ำมันสังเคราะห์ส่วนใหญ่ที่วางขายในบ้านเรา
ตั้งแต่ Group 4 - Group 5 เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์
เป็นพวก PAO หรือ Polyalphaolefin คือผลิตขึ้นมาจาก สารสังเคราะห์แท้ๆ 100 %
Group 4 - น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Full Synthetic) PAO 100 %
- ผลิตมาจากสารสังเคราะห์ล้วนๆ โดยไม่มี Base Oil เจือปน แม้แต่น้ำมันพื้นฐานก็ยังเป็นเกรด Synthetic Base Oil ส่วนใหญ่จะเป็นพวก PAO หรือ Polyalphaolefin คือผลิตขึ้นมาจากสารสังเคราะห์แท้ๆ 100 % ให้การหล่อลื่นและปกป้องได้ดียิ่งกว่า เหนือกว่าน้ำมันเครื่องทุกยี่ห้อ ที่มีขายในขณะนี้
Gruop 5 ? จะเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ที่มีความคล้ายคลึงกับ Group 4 มีความหล่อลื่นมากและอายุการใช้งานสูงเหมาะสำหรับพวกเครื่องจักร
ดังนั้น น้ำมันเครื่องGroup 4 จึงเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ซึ่งเหมาะสมสำหรับยานยนต์ ให้การปกป้องมีความลื่นและอายุการใช้งานสูง
ในการผลิตน้ำมันเครื่องเค้าก็ใช้น้ำมันเครื่องพื้นฐานจาก 1 ใน 5 นี่แหละ แล้วนำเอาพวกสารเพิ่มประสิทธิภาพผสมลงไป โรงงานที่ผสมหรือผลิตน้ำมันเครื่องในบ้านเรามีอยู่ไม่กี่แห่ง พวกบริษัทน้ำมันเครื่องก็จ้างโรงงานเหล่านี้ผลิตให้ ดังนั้นน้ำมันเครื่องหลายยี่ห้อก็ออกมาจากโรงงานเดียวกัน ด้วยเหตุนี้คุณภาพของน้ำมันเครื่องจึงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้น้ำมันเครื่องพื้นฐานกับพวกสารเพิ่มคุณภาพที่เติมผสมลงไป
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แท้ /เทียม
น้ำมันเครื่องสำเร็จรูปที่ระบุว่าเป็นชนิดสังเคราะห์ 100% ใช้น้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ โพลีแอลฟาโอลีฟิน (POLYALPHAOLEFIN-PAO) ซึ่งไม่สามารถละลายสารเพิ่มคุณภาพบางตัวหรือละลายได้ไม่ดี จึงอาจมีการละลายสารเพิ่มคุณภาพด้วยน้ำมันหรือสารอื่นก่อนผู้ผลิตบางรายเน้นความประหยัด โดยนำสารเพิ่มคุณภาพไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดธรรมดาก่อน เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานจึงเกิดข้อกังขาว่า จะเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ได้อย่างไร ในเมื่อมีน้ำมันชนิดธรรมดาผสมอยู่ด้วยจากการช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพ
มีผู้ผลิตไม่มากนักที่ยอมลงทุนนำสารเพิ่มคุณภาพไปละลายกับน้ำมันหล่อลื่นชนิดสังเคราะห์อื่นที่มีราคาแพง ไม่เหมาะกับการใช้งานในเครื่องยนต์รถยนต์ แต่ทำละลายได้ดี เช่น น้ำมันหล่อลื่นเครื่องบินเจ็ต (DIBASICESTER) เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันหล่อลื่นขั้นพื้นฐานชนิดสังเคราะห์ ก็จะกลายเป็นน้ำมันเครื่องสำเร็จรูปชนิดสังเคราะห์ 100% ทุกหยดจริงๆ ต่างจากกรณีแรกที่มีน้ำมันชนิดธรรมดาช่วยทำละลายสารเพิ่มคุณภาพผสมอยู่ด้วย
Hydro crack คือการเอาน้ำมันเครื่องพื้นฐานจากแร่หรือปิโตเลียม(Mineral Base oil) ไปจัดเรียงโมเลกุลขึ้นมาใหม่(คล้ายกับทำ GMO's ในพืช) แล้วใส่สารผสมเพิ่มคุณภาพเข้าไป(Aditive)
สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหา คือบริษัทที่ทำน้ำมันเครื่องจาก Group 4 อันเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ขนานแท้ เห็นว่ามันไม่ถูกต้องที่นำเอาน้ำมันเครื่อง Group 3 อันเป็นน้ำมันธรรมชาติมาทำเป็นน้ำมันเครื่อง แล้วโฆษณาว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์
ทำให้มีการฟ้องร้องกันระหว่าง ผู้ผลิตน้ำมัน Group 4 กับผู้ผลิตน้ำมัน Group 3 ก็เพราะว่าในสหรัฐอเมริกา มีบริษัทน้ำมันเครื่องแห่งหนึ่งใช้น้ำมันเครื่องพื้นฐาน Group 3 เอามาผสมสารเพิ่มคุณภาพเข้าไป แล้วประกาศว่าเป็น น้ำมันเครื่องสังเคราะห์หรือน้ำมันเครื่อง Synthetic และบางทีก็หาทางออกโดยใช้คำว่า Synthetic Technology หรือใช้คำ Synthetic ร่วมกับคำอื่นๆ ขายราคาที่ถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ยี่ห้ออื่นๆ
ทำให้คุณสมบัติของ Group 3 ซึ่งยังมี Base Oil ที่เป็น ปิโตรเลียมผสม ไปใกล้เคียงกับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ Group 4 ที่เป็น PAO 100% หรือ Polyalphaolefin เข้า
ศาลตัดสินให้ ผู้ผลิตน้ำมัน Group 3 สามารถใช้คำว่า Synthetic ถึงแม้จะไม่เป็น Synthetic 100% แต่เนื่องจากส่วนผสมของน้ำมันก็ยังมีสาร Synthetic เป็นตัวหลัก (* เป็นส่วนผสมมากที่สุดในอัตราส่วนต่อ 1 หน่วย) แม้จะมี Base Oil ซึ่งเป็นปิโตรเลียม ผสมอยู่ด้วยในอัตรา 10 ? 15 % ก็ตาม
ถึงแม้คุณภาพของน้ำมันเครื่อง Group 3 จะใกล้เคียงกับน้ำมันเครื่อง Group 4
แต่ก็เพียงแค่ใกล้เท่านั้น แต่ความเป็นจริงยังไม่สามารถทัดเทียมได้
ปรกติโดยทั่วไป น้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันเครื่อง ที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติ ด้านต่างๆ เช่น หล่อลื่น ระบายความร้อน ป้องกันสนิม และชะล้างทำความสะอาด เกี่ยวกับคุณภาพและประสิทธิภาพเกือบทุกด้านจะถูกกำหนดขึ้นจากการทดสอบคุณสมบัติฯลฯ มีหลายสถาบันทั่วโลกทดสอบและตั้งมาตรฐานหรือเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง เช่น
API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE และ SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นแหล่งอ้างอิง นอกจากนั้น หลายผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ก็มีการทดสอบและกำหนดมาตรฐานของน้ำมันเครื่องขึ้นเองในการใช้งานสำหรับรถยนต์ทั่วโลก ผู้ผลิตน้ำมันเครื่องและผู้บริโภค นิยมเลือกใช้มาตรฐานหรือเกรดคุณภาพของสถาบัน API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE เพราะชัดเจนและสะดวกทั้งในการผลิตหรือเลือกใช้ โดยมีการระบุไว้ข้างกระป๋องน้ำมันเครื่องเสมอ
ล่าสุดมีบุคคลนำเอา น้ำมันเครื่องเกรด API-SL 0W40 ชนิด PAO 100% ผ่านการใช้งาน 20,126 KM.ไปเข้าทดสอบที่ Lab.ได้ผลมาคือ สภาพความหนืดยังเป็นปรกติ ปฏิกิริยา Oxydation ไม่มี สารฟอสฟอรัส ต่ำมาก(0.018 PPM) คาร์บอนต่ำ
และถ้าเป็น มาตรฐาน API-SM 5W40 ชนิด PAO 100% (Polyalphaolefin ) ของ PROSYN
จะมีคุณภาพในการหล่อลื่น และ ปกป้องรักษาเครื่องยนต์ มากซักขนาดไหน