ตั้งแต่เป็นสมาชิกคลับนี้มาผมได้แต่ซุ่มอ่านกระทู้ของคนอื่น
วันนี้ผมเลยขอมีกระทู้เป็นของตัวเองบ้าง
วันนี้ขอนำเสนอสาระน่ารู้จากประสบการณ์จริงหน่อยครับ
เดี่ยวกะถุงลมนิรภัยหรือair bagนั่นเอง
ก่อนอื่นต้องขอเกรินก่อนว่าผมเองเคยอยู่ในสถานการณ์ที่ได้เห็นแอร์แบ๊คระเบิดทั้งสองลูกมาแล้ววันนั้นผมกับเพื่อนได้ออกไปทำธุระด้วยกันรถเพื่อนผมดีแมค4ประตูไฮแลนเดอร์เพื่อนขับผมนั่งตอนหลังแฟนเพื่อนนั่งหน้าแฟนเพื่อนคาดเบวแต่เพื่อนผมไม่ได้คาดเบวออกจากบ้านได้สักพักมาถึงทางสามแยกเปนแยกเลี้ยวซ้ายฝั่งตรงข้ามมีรถเก๋งคันนึงสวนมาและเลี้ยวตัดหน้ารถเพื่อนผมทันทีเพื่อนผมขับมาประมาณ110เบรคทันทีครับแต่เอาไม่อยู่แล้วเสยกลางลำรถเก๋งคันนั้นทันทีมันเป็นเวลาที่เร็วมากได้ยินเสียงโครมปุ๊บแอร์แบ๊คระเบิดทันทีครับเชื่อมั้ยครับเพื่อนผมไม่เป็นอะไรเลยเบวก็ไม่ได้คาดรถหมุนไปฟาดกับแพงเหล็กกั้นทางเก๋งคันนั้นขาดครึ่งครับคนขับเก๋งสาหัสมารู้ทีหลังเมาครับ
ที่ผมเล่านี่ไม่ใช่อะไรนะครับหลังจากเหตุการณ์ในวันนั้นผมตั้งใจเลยว่าถ้าซื้อรถผมจะเอาแอร์แบ๊คครับช่วยได้เยอะจริงๆ
และจะได้เป็นเหตุผลประกอบการตัดสินใจเลือกรถสำหรับผู้ที่กำลังคิดจะจองรถครับ
ปัจจุบันตลาดรถยนต์ไทยมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุปกรณ์เสริมด้านความปลอดภัย กลายเป็นจุดขายที่สำคัญซึ่งผู้ผลิตใช้ในการโฆษณาคุณลักษณะของรถยนต์ เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์เริ่มตระหนักถึงคุณค่าของสินค้าที่จะมอบให้กับผู้บริโภค และในขณะที่ผู้บริโภคเองก็เริ่มหันมาสนใจเรื่องความปลอดภัยว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เป็นสากลซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถเอาเปรียบผู้บริโภคได้อีกต่อไป อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยดังกล่าวที่ผู้ใช้รถยนต์คุ้นเคยแล้ว ได้แก่ ABS หรือระบบป้องกันล้อล็อก สำหรับ AIR BAG หรือเราเรียกกันว่า "ถุงลมนิรภัย" ซึ่งแต่เดิมเคยพบเห็นกันในรถยนต์รุ่นใหญ่ราคาแพงนั้น แต่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในรถยนต์รุ่นเล็กที่ราคาไม่สูงนักหลายรุ่นแล้ว ถุงลมนิรภัย อุปกรณ์เสริมด้านความปลอดภัย เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ใช้รถยนต์คุ้นเคยมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากสังเกตจุดที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยในรถยนต์จะเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ SRS - Supplemental Restraint System หมายความว่า เป็นอุปกรณ์เสริมไม่ใช่อุปกรณ์หลัก ถุงลมนิรภัยเป็นอุปกรณ์เสริมที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการป้องกันบริเวณหน้าอกและศรีษะที่มีประสิทธิภาพสูง การใช้งานจะได้ผลที่สุดเมื่อใช้ควบคู่กับเข็มขัดนิรภัย เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกระแทกอย่างแรง แม้เข็มขัดนิรภัยจะรัดลำตัวไว้นิ่งแล้ว แต่ส่วนของพวงมาลัยอาจจะยุบตัวมากระแทกที่หน้าอกได้ ศีรษะและลำคอก็ยังมีโอกาสสะบัดไปมาอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ลำคอได้ ถุงลมนิรภัยจึงเข้ามาเติมช่องว่างด้านความปลอดภัยในส่วนนี้ กลไกการทำงานของถุงลมนิรภัย ประกอบด้วยเข็มจุดระเบิด และลูกบอลเหล็กที่สวมอยู่อย่างคับๆ ในทรงกระบอก ในภาวะปกติเข็มจุดระเบิดจะถูกดันไว้ด้วยล้อพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เข็มจึงไม่สามารถพุ่งไปกดปุ่มระเบิดได้ เมื่อรถหยุดลงอย่างกระทันหัน ลูกบอลซึ่งมีมวลมากและความเฉื่อยมาก ยังคงไม่หยุดและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไปดันแขนด้านบนให้เอนออกไป ทำให้ล้อพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวที่ติดอยู่กลางแขนหมุนหลุดออกจากเข็มจุดระเบิด สปริงจะดันให้เข็มพุ่งออกไปกดปุ่มระเบิดทำให้ถุงลมนิรภัยพองตัวอย่างรวดเร็วด้วยก๊าซที่อัดเข้าสู่ตัวถุงลมนิรภัยซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมี สารเคมีที่ใช้กันคือโซเดียมเอไซด์(Sodium Azide) เมื่อถูกจุดระเบิดทางเคมีแล้ว จะสร้างก๊าซไนโตรเจนขึ้นมา แล้วไหลเข้าไปบรรจุในถุงลมนิรภัยที่พับตัวอยู่อย่างรวดเร็ว โดยก๊าซไนโตรเจนนี้มีคุณสมบัติเป็นก๊าซเฉื่อยไม่มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ นอกจากมีก๊าซไนโตรเจนแล้วยังมีสารเคมีอื่นๆที่เกิดจากการระเบิดนี้ ได้แก่ โซเดียมไฮดรอกไซด์โซเดียมคาร์บอเนต และออกไซด์อื่นๆ สารเหล่านี้มีความเป็นด่างอยู่บ้าง และอาจติดมาตามผิวหนังและใบหน้าของผู้ขับขี่ได้ ถุงลมนิรภัยจะพองตัวและยุบตัวลงอย่างรวดเร็วมาก บางคนอาจกังวลว่าถ้าถุงลมพองตัวขึ้นมาแล้ว หน้าเราอาจจมค้างอยู่อาจหายใจไม่ออกและมองไม่เห็นทาง แต่ในความเป็นจริงผู้ผลิตได้เจาะรูระบายก๊าซขนาดใหญ่ไว้ที่ด้านหลังของถุงลม ความเร็วของถุงลมนิรภัยขณะพองตัวนั้นสูงกว่า 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อพองตัวแล้วจะยุบตัวลงเร็วมากใช้เวลาเป็นวินาทีเท่านั้น ผู้ผลิตต้องออกแบบ การพับ การประกอบ และรูปทรงของถุงลมนิรภัย ไว้อย่างดี มิฉะนั้นจะเหมือนกับเอาถุงพลาสติกมาพุ่งชนผิวหนังด้วยความเร็วสูง ทำให้เกิดรอยไหม้บริเวณผิวหนังได้ การออกแบบเบาะนั่งจึงมีความสำคัญในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของถุงลมนิรภัย ซึ่งเคยมีรายงานว่าเกิดการบาดเจ็บของสะโพกและขา ซึ่งเกิดเนื่องจากตัวผู้ขับขี่ไถลลงไปจากเบาะนั่ง เรียกว่า Submarine เป็นที่มาของการออกแบบเบาะที่นั่งแบบ Antisubmarine ที่จะป้องกันการลื่นไถล แต่ต้องใช้งานร่วมกันกับเข็มขัดนิรภัยและการออกแบบโครงสร้างตัวถังรถยนต์ให้มีความแข็งแรงด้วย การที่มีการใช้ถุงลมนิรภัยกันมากขึ้น ซึ่งมีการออกแบบ การติดตั้ง คุณลักษณะเกี่ยวกับภาวะใช้งานที่หลากหลาย องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization หรือ ISO) จึงได้พิจารณากำหนดมาตรฐานขึ้น ดังนี้ISO 12097-1:2002 Road Vehicles - Airbag components -Part 1 : VocabularyISO 12097-2:1996 Road Vehicles - Airbag components -Part 2 : Testing of airbag modulesISO 12097-3:2002 Road Vehicles - Airbag components -Part 3 : Testing of Inflator assemblies.สำหรับประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในฐานะสำนักงานมาตรฐานแห่งชาติได้ประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเลขที่ มอก.1655-2541 มาตรฐานยานยนต์ที่ขับเคลื่อนบนทางสาธารณะ - ถุงลมนิรภัย - ส่วนที่ 2 : การทดสอบชุดถุงลมนิรภัย โดยรับมาตรฐาน ISO12097-2:1996 Road Vehicles - Airbag components -Part 2 : Testing of airbag modules ฉบับภาษาอังกฤษมาใช้ในระดับเหมือนกันทุกประการ (identical) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้มีขอบข่ายครอบคลุมวิธีการทดสอบและกำหนดกระบวนการ และคุณลักษณะเกี่ยวกับภาวะใช้งานชุดถุงลมนิรภัยของยานยนต์ที่ขับเคลื่อนบนทางสาธารณะ สำหรับ ISO 12097 ส่วนที่ 3 กำหนดวิธีทดสอบชุดจุดระเบิดของถุงลมนิรภัย มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก.1655-2541 มีสาระสำคัญด้านการทดสอบ สรุปได้ ดังนี้หัวข้อรายการสาระสำคัญ4.ภาวะทดสอบทั่วไปกำหนดข้อควรระวังระหว่างการทดสอบถุงลมนิรภัย 4.1วัตถุประสงค์ของการทดสอบภาวะใช้งานการทดสอบภาวะใช้งานเป็นการจำลองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับถุงลมนิรภัยเกี่ยวกับลักษณะการใช้งานและภาวะการใช้งานทั้งในด้านการขนย้าย การติดตั้งบนรถยนต์ การบำรุงรักษา ตลอดจนการซ่อมแซมรถยนต์ 4.2ลำดับการทดสอบกำหนดลำดับการทดสอบแต่ละรายการ โดยพิจารณาจากภาวะการใช้งานเป็นหลัก เช่น การทดสอบ drop testและ Mechanical impact test เป็นการทดสอบแรกที่พิสูจน์ถึงการทนต่อการเคลื่อนย้าย การขนส่งและการติดตั้ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะแรกของภาวะการใช้งานถุงลมนิรภัย ลำดับต่อมาให้ทดสอบ dust test เนื่องจากฝุ่นละอองอาจหลุดเข้าไปในถุงลมได้ในทุกภาวะการใช้งาน และเป็นลำดับสำคัญก่อนการทดสอบ vibration เพราะอาจทำให้ถุงลมเสียหายได้ถ้ามีฝุ่นละอองเข้าไปเสียดสีภายในถุงลม เป็นต้น 4.3การวัดและการรายงานผลกำหนดวิธีการวัดและการรายงานผลแต่ละการทดสอบ เช่น จำนวนครั้งการทดสอบ จำนวนตัวอย่าง และภาวะการทดสอบ 4.4โปรแกรมการทดสอบกำหนดโปรแกรมการทดสอบของตัวอย่างถุงลมนิรภัย จำนวน 19 ตัวอย่างตามลำดับการทดสอบ5วิธีทดสอบภาวะการใช้งาน 5.1Drop testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อตกกระแทกในด้านต่างๆ ทั้ง 6 ด้านของถุงลมนิรภัย ณ ความสูงที่กำหนด 5.2Mechanical impact testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อถูกแรงกระแทกที่อุณหภูมิปกติ และที่อุณหภูมิสูง โดยใช้ตัวอย่าง 8 ตัวอย่าง โดยแต่ละตัวอย่างจะถูกกระแทก 12 ครั้ง ต่อแนวแกน (มี 3 แนวแกน)รวมทั้งสิ้น 36 ครั้งต่อตัวอย่าง 5.3Dust testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อมีฝุ่นละอองในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยทดลองในภาวะจำลองเสมือนติดตั้งในรถยนต์จำนวน 8 ตัวอย่าง 5.4Simultaneous vibration temperature testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อดูความสามารถการทนต่อการสั่นสะเทือนภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด โดยใช้ตัวอย่างทดสอบ 8 ตัวอย่าง ทดสอบตามความถี่การสั่นสะเทือนที่กำหนด 5.5Thermal humidity cycling testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อดูความสามารถการทนต่อความชื้นสูงและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยกำหนดวงจรการทดสอบไว้ 24 ชั่วโมงต่อวงจรทดสอบ ต้องทดสอบ 30 วงจรทดสอบ 5.6Salt Spray testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อดูความสามารถการทนต่อการกัดกร่อน โดยใช้ตัวอย่างทดสอบ 8 ตัวอย่าง ทดสอบโดยการพ่นฉีดน้ำเกลือ ภายในระยะเวลาที่กำหนด 5.7Solar radiation simulation testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อดูความสามารถการทนต่อการแผ่รังสีของแสงอาทิตย์ โดยจำลองภาวะเสมือนการติดตั้งในรถยนต์ในตำแหน่งที่ได้รับการแผ่รังสีของแสงอาทิตย์โดยตรง และทดสอบ ณ ความยาวคลื่น ต่างๆ 5.8Temperature shock testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อดูความสามารถการทนต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงมากๆ โดยมุ่งเน้นดูที่ตะเข็บรอยต่อของถุงลมนิรภัย ใช้ตัวอย่างทดสอบ 2 ตัวอย่าง ทดสอบตามวงจรที่อุณหภูมิ -35 ฑ 2.5oC และ 85 ฑ 2.5oC วงจรละ 3 นาที ทดสอบทั้งหมด 300 วงจรต่อตัวอย่าง6การทดสอบด้านสมรรถนะ Performance testการทดสอบนี้จะทำหลังจากทดสอบภาวะการใช้งานครบถ้วนแล้ว 6.1Static deployment testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้เพื่อดูสภาพของถุงลมนิรภัย ณ.อุณหภูมิช่วงที่เกิดการจุดระเบิด ว่าเมื่อขณะเกิดระเบิดพองตัวทำงานแล้วมีลักษณะกระทบกับเบาะที่นั่งอย่างไร โดยทดสอบถุงลมนิรภัยที่จำลองภาวะติดตั้งถาวรทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งคนขับ และตำแหน่งผู้โดยสารด้านหน้า 6.2Tank testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของชุดจุดระเบิดของถุงลมนิรภัย ตามการทดสอบภาวะใช้งานกับการทดสอบด้านสมรรถนะ โดยทำการจุดระเบิดในภาชนะปิด ณ อุณหภูมิที่กำหนด 6.3Bag testวัตถุประสงค์หลักของการทดสอบนี้ เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของถุงที่ทำถุงลมนิรภัย ตามการทดสอบภาวะใช้งาน กับการทดสอบด้านสมรรถนะ โดยใช้ตัวอย่างถุงลมนิรภัยที่ยังไม่มีการระเบิดพองตัวใช้งาน และถุงลมนิรภัยที่มีการระเบิดพองตัวใช้งานแล้วอย่างละ 2 ตัวอย่าง ทำการทดสอบเพื่อหาค่าดังนี้- ปริมาตรของถุง- ความสามารถการทนต่อการซึมน้ำของเส้นใยที่ใช้ทำถุง- ตรวจพินิจเส้นใยที่ใช้ทำถุง- ความแข็งแรงของแนวตะเข็บ- ความแข็งแรงของเส้นใย- ความทนทานต่อการฉีกขาดของเส้นใยอุปกรณ์ทุกชนิดมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ในอดีตเราอาจเคยได้ยินข่าวถุงลมนิรภัยในด้านที่ไม่ดีมาบ้าง เช่นทำให้เด็กเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานที่เร็วและแรงมาก แต่ได้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้มีปัญหาน้อยลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันถุงลมนิรภัยมีข้อดีมากกว่าข้อเสียมาก คือ ถุงลมนิรภัยสามารถช่วยรักษาชีวิตเราไว้ได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรง ข้อสำคัญคือผู้ขับขี่รถยนต์ควรต้องศึกษาการใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คู่มือประจำรถน่าจะเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุด
ปล.เอามาจากในเว๊บอีกทีนะครับท่านใดเคยอ่านแล้วขออภัยด้วยครับ