พอดีไปเจอมาจาก Thaicartrick นะครับ เห็นมีคนถามมาก็เลยเอามาฝาก
Run in ความเข้าใจผิดของการรันอินรถยนต์ใหม่
ในช่วงเช้าที่ “นาย T” รอให้เครื่องยนต์อุ่นเครื่องจนอุณหภูมิ (เกือบ) ได้ที่ ก็มีไม่น้อยที่สังเกตเห็นผู้ใช้รถ
หลายๆ คนสตาร์ทเครื่องแล้วออกรถในทันที หรือจะเป็นความเชื่อของผู้ใช้รถที่เข้าใจว่ารถป้ายแดงรุ่นใหม่ๆ ไม่ต้อง Run in เพราะโรงงานเค้าจัดการมาให้เรียบร้อยแล้ว แต่จริงๆ แล้ว เราต้อง Run in กันนะครับ เพราะ
ในคู่มือเค้ายังแนะนำให ้Run in กันเลย เพราะอะไร ? เดี๋ยว “นาย T” จะพาไปทำความเข้าใจถึงข้อเท็จจริงนั้นกันครับ
ขึ้นชื่อว่าเป็นรถใหม่ (ไม่ใช่ใหม่เรา เก่าคนอื่นนะ) ทุกชิ้นส่วนคือของใหม่ที่ยังไม่เคย ผ่านการใช้งาน เพราะฉะนั้นค่าเคลียแรนซ์ (ระยะห่าง) ต่างๆ ก็จะตรงตามสเป๊คของ
โรงงานเป๊ะๆ และนั่นต้องอาศัยการปรับสภาพเพื่อให้แต่ละชิ้นส่วนเข้าที่เข้าทาง ก่อนนั่นเอง อย่าไปเหมาว่าการที่เครื่องยนต์ทำงานในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้ทีม QC ตรวจสอบการประกอบหรือการรั่วซึมนั้นคือ การรันอินเป็นอันขาด เพราะการรันอินนั้นต้องอาศัยระยะเวลาและระยะทางในการปรับสภาพ และไม่ได้จำเพาะเจาะจง
ว่าจะต้องเป็นเครื่องยนต์อย่างเดียว กับทุกชิ้นส่วนนั้นก็ต้องผ่านการรันอินควบคู่ไป กับเครื่องยนต์ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นลืมไปได้เลยครับที่ผู้ผลิตจะรันอินมาให้คุณ เพราะมันหมายถึงค่าใช้จ่ายและระยะเวลาอีกพอสมควรเลยทีเดียว
ลองนึกภาพตามนะครับว่าแต่ละ เครื่องยนต์ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่ต้อง เคลื่อนไหวนับร้อยๆ ชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นส่วนก็เพิ่งจะผ่านการขึ้นรูปมาหมาดๆ ค่าเคลีย แรนซ์ต่างๆ จึงยังค่อนข้างน้อย (หรือถ้าเป็นภาษาพูดก็คือยังฟิตอยู่นั่นเอง) ต้อง อาศัยการปรับสภาพจากการใช้งานที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 1,000 กม. แรก (หรืออาจจะมากกว่านี้แล้วแต่ผู้ผลิตจะระบุ) เพื่อให้แต่ละชิ้นสึกหรอจนเข้าที่ เข้าทาง และได้ค่าเคลียแรนซ์ที่เหมาะสม ซึ่งก็จะช่วยต่อยอดให้อายุการใช้งานของ
ทั้งรถและเครื่องยนต์ยาวนานขึ้น ข้อปฏิบัติในการ Run in นั้น จริงๆ แล้วในคู่มือก็จะมี ระบุไว้อยู่แล้ว แต่ “นาย T” จะสรุปให้เข้าใจแบบง่ายๆ นะครับ
- อุ่นเครื่องก่อนเสมอ เพื่อให้น้ำมันเครื่องได้ขึ้นไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ โดยถ้วน ทั่ว การสึกหรอจะได้บรรเทา
- ห้ามรุนแรงกับการขับขี่ คำว่า “รุนแรง” ในที่นี้หมายถึง การออกตัว, การเร่ง, การ เลี้ยว และการเบรกอย่างรุนแรงในช่วง 1,000 กม. แรก (เป็นอย่างน้อย)
- ไม่ควรใช้ความเร็วเกิน 120 กม./ชม. (หรือตามคู่มือระบุ) รวมไปถึงรอบการทำงาน ของเครื่องก็ไม่ควรเกิน 3,000 รอบ/นาที (คร่าวๆ นะครับ) และควรสลับระดับความ เร็วที่ใช้ อย่าแช่ที่ความเร็วใดๆ (ทั้งช้าและเร็ว) เป็นระยะเวลานานๆ
- ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเดินทางไกล ควรจะพักรถอย่างน้อยทุกๆ 2 ชม. (มากน้อย กว่านี้ตามความเหมาะสม)
- หลีกเลี่ยงการลากรถในช่วงที่ยัง Run in เพราะจะสร้างความสึกหรอให้กับเครื่อง ยนต์, ช่วงล่างและระบบเบรคอย่างมหาศาล
และถ้าจะให้ดี เมื่อครบ 1,000-1,500 กม. แรก ก็ควรที่จะเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยน
ถ่ายน้ำมันเครื่อง, ไส้กรองน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเฟืองท้าย ฯลฯ เนื่องจาก ในช่วงดังกล่าว จะเกิดเศษโลหะเล็กๆ (ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า) จากการเสียดสี ของชิ้นส่วนที่เป็นโลหะต่างๆ ภายในเครื่องยนต์, เฟืองเกียร์และเฟืองท้าย ซึ่งหาก ปล่อยไว้ก็อาจสร้างความเสียหายในระยะยาวได้ครับ
มาต่อกันที่การอุ่นเครื่อง (หรือวอร์มเครื่อง) ที่ทำไม “นาย T” จึงบอกว่ามันสำคัญ อย่างยิ่ง? ลองนึกภาพรถที่ต้องจอดเป็นระยะเวลานานๆ (2-3 ชั่วโมงขึ้นไป) น้ำมัน เครื่องจะไหลตามแรงโน้มถ่วงลงสู่อ่างน้ำมันเครื่อง ซึ่งเท่ากับว่าบนฝาสูบหรือเสื้อ สูบจะมีเพียงฟิล์มน้ำมันเครื่อง (ที่ยังหลงเหลือ) เคลือบไว้บางๆ เท่านั้น (น้ำมัน เครื่องยิ่งคุณภาพสูง ฟิล์มก็จะยิ่งช่วยในการปกป้องครับ) เมื่อไหร่ที่สตาร์ทเครื่อง ชิ้นส่วนต่างๆ อย่างแค็มชาฟท์, กระเดื่องกดวาล์ว, ลูกสูบ, แหวนลูกสูบ ฯลฯ ที่อยู่ ด้านบนสุดของเครื่อง จะเสียดสีกันอย่างรุนแรงเหมือนโลหะถูกับโลหะ คุณคงจะพอ
เดาออกแล้วใช่มั๊ยว่านั้นจะสึกหรอมากขนาดไหน
ว่ากันว่าการสตาร์ทเครื่องนี่ทำให้เครื่องยนต์สึกหรอ มากที่สุดเลยล่ะครับ ซึ่งก็น่าจะ เป็นเช่นนั้น เพราะคิดเอาง่ายๆ แค่ 1,000 รอบ/นาที ที่รอบเครื่องตวัดไปตอนที่ มอเตอร์สตาร์ททำงาน ลูกสูบต้องชักขึ้น-ลงถึงวินาทีละ 16.6 ครั้งเลยนะครับ ยิ่ง ตอนเช้าๆ ที่น้ำมันเครื่องยังอุณหภูมิต่ำ ความหนืดจะมากกว่าตอนเครื่องร้อนด้วย เพราะฉะนั้นรอให้เครื่องยนต์เดินเบาซักพัก เพื่อทำให้น้ำมันเครื่องขึ้นไปหล่อลื่นจน เต็มระบบและมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ แล้วค่อยออกรถนะครับ เอาง่ายๆ แค่ 30 วินาทีก็
พอ จะได้ไม่เปลืองน้ำมันและเวลามากนัก ผลลัพธ์อาจจะไม่เห็นในทันที แต่เชื่อ “นาย T” เถอะครับว่าทำแล้วไม่มีผลเสียหรอก
=============================
ขอบคุณที่มานะครับ Thaicartrick.com :
http://www.thaicartrick.com/webpage/Run-in.html