ปัจจุบันรถที่วิ่งอยู่ตามท้องถนนร้อยละ 80 มีไฟตัดหมอกทั้งนั้น และในจำนวนรถที่ว่านั้นร้อยละ 80 เปิดไฟตัดหมอก กฎหมายเขียนไว้ดีแต่ผมว่ามันล้าหลังเทคโนโลยีไปมากแล้วครับ พรบ.จราจรทางบก บังคับใช้ตั้งแต่ ปี 2522 กฎกระทรวงก็ออกตั้งแต่ปี 2536 ถ้าเป็นสมัยนั้นมันก็น่าจะได้อยู่เพราะปริมาณรถไม่ได้มากอย่างสมัยนี้ อย่างบอกว่าเปิดใช้ได้แต่ต้องไม่มีรถสวนมาในระยะแสงไฟ ถ้าในเมืองหรือชานเมืองแทบเป็นไปไม่ได้เลย แบบนี้ถ้าไม่จับผมจะบอกว่าละเว้นนะพี่จ่า ผมเจ็บตา แต่ผมยังไม่เคยเห็นเค้าตั้งด่านตอนฝนตกกะหมอกลงเลยว่าไหม คงกลัวโดนฟ้าผ่าหรือไม่ก็รถชน จริงอยู่ว่ากฎหมายให้พิสูจน์ได้แต่ใครเล่าจะยอมเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลกะแค่เงินค่าปรับ 500 บาท ถ้าบอกว่าปรับ 10000 บาท ป่านนี้อาจจะคนบ้าระห่ำไม่ยอมและมีฎีกาให้อ่านกันเป็นบรรทัดฐานว่าที่ถูกต้องนั้นควรเป็นอย่างไร กรณีทางหลวงจับวิ่งขวาก็เหมือนกันมีใครฟ้องร้องเป็นคดีตัวอย่างบ้าง มีแต่ยอมควัก จะควักมากน้อยก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน แบบนี้มันก็เป็นวัฏจักรย่ำอยู่กับที่เรื่อยไป ควรจะแก้ไขกฎหมายให้มันไปได้ด้วยกันกับการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
ทำไมถึงห้ามเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีเหตุอันควร เพราะมันทิ่มแทงตากระนั้นหรือ ถ้าวัดตามความรู้สึกไม่อิงกฎหมาย สำหรับผมแล้วไม่ครับ (ส่วนท่านอื่นก็แล้วแต่ครับไม่ว่ากัน)ไฟที่แทงตาคือไฟหน้าครับโดยเฉพาะรถยกสูง ถ้าขับยกสูงด้วยกันก็ไม่เท่าไหร่ครับสวนกันก็ปกติ แต่ถ้ารถต่ำนี่น่าเห็นใจจริงๆ ครับมันพร่าไปหมด ส่วนคันที่เปิดไฟตัดหมอกด้วยแสงมันจะดรอปน้อยกว่าไฟหน้า ไฟหน้าจะกลบแสงทำให้ไม่รู้สึกอะไร เห็นแค่ว่ามีแสงไฟเพิ่มมาอีก 2 ดวง เหมือนกับเห็นไฟส่องหม้อน้ำ ไฟส่องป้ายทะบียนหน้าไฟอะไรอีกสารพัดที่สรรหามาติดกันหลากหลายสีหลายที่หลายตำแหน่ง แต่ถ้าเปิดแค่ไฟตัดหมอกอย่างเดียวไม่ได้เปิดไฟหน้าก็อาจมีรำคาญบ้าง แต่ดีกว่าไม่ได้เปิดอะไรเลยมาแบบตะคุ่มๆ อันตรายมาก
เราปฏิบัติตามกฎหมายแล้วทำไมเจ้าหน้าที่รัฐบางคนส่วนใหญ่ถึงไม่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้าง คงเห็นว่าเราคงไม่มีทางต่อสู้ ข้อกฎหมายบางเรื่องมันเป็นแค่เรื่องทฤษฎีเอาไว้อธิบายกันในเชิงวิชาการเท่านั้น ประชาชนยากที่จะเข้าถึงมีแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะมีอำนาจใช้ กฎหมายวิธีสบัญญัติว่าด้วยการพิสูจน์การกระทำผิดเรื่องนี้เอาเข้าจริงยังคงไม่เกิดขึ้นในศาลสักคดี ใครมีเอามาดู่หน่อยครับ