ผู้เขียน หัวข้อ: การดูแลสายยางให้อาหารผู้ป่วย อาหารสายยาง  (อ่าน 13 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • ไมล์ 101-300
  • *
  • กระทู้: 124
  • คะแนน Like 0
  • จังหวัด: กรุงเทพ
  • ชื่อเล่น: aa
การดูแลสายยางให้อาหารผู้ป่วย อาหารสายยาง

การให้อาหารทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง เพื่อให้ได้รับอาหาร น้ำและยา เพียงพอกับความต้องการของร่างกายสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้หรือมีปัญหาในการกลืน แพทย์จะใส่สายยางลงไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง เพื่อให้ผู้ได้รับสารอาหาร และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร อาหารทางสายยาง โดยหลักการต้องมีอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล) โปรตีน (เนื้อสัตว์, ไข่, นม, ถั่ว) ไขมัน (น้ำมัน, ไขมันสัตว์) เกลือแร่วิตามิน (ผักต่างๆ ผลไม้) กล่าวโดยทั่วไปต้องให้ได้คาร์โบไฮเดรต 40-50% โปรตีน 20-30% ไขมัน 10-20% เกลือ+วิตามิน 10% แล้วแต่ว่าผู้ป่วยต้องการหรือต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทจึงจะจัดทำสูตรอาหารแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล


เนื่องจากผู้ป่วยในแต่ละโรคต้องรับอาหารที่มีความแตกต่างกัน แต่สูตรอาหารนั้นจะต้องทำการออกแบบโดยนักโภชนาการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังขึ้นกับท้องถิ่นว่าจะหาซื้อหรือจัดหาได้สะดวกอีกด้วยหรือผลไม้ ตามฤดูกาลก็ประยุกต์เข้ากับสูตรอาหารได้เช่นกัน หากผู้ดูแลต้องการทำอาหารปั่นผสมให้กับผู้ป่วยด้วยตนเอง แต่ก็ต้องมีการควบคุมโดยนักโภชนาการ


สำหรับการเตรียมอาหารปั่นผสม เป็นอาหารที่ต้องมีการออกแบบสูตรให้ถูกกับโรคของผู้ป่วยด้วย โดยจะต้องมีการคัดสรรวัตถุดิบที่มีความปลอดภัยของผู้ป่วย มีการคำนวณปริมาณสารอาหารที่จะต้องให้กับผู้ป่วย และที่สำคัญทุกขั้นตอนในการเตรียมอาหารปั่นผสมที่จะนำไปให้แก่ผู้ป่วยจะต้องมีความสะอาด ปลอดภัย ปราศจากสิ่งปนเปื้อน เพื่อให้ผู้ได้รับสารอาหารที่สะอาด ปลอดภัย เพื่อที่จะได้หายจากพักฟื้นอาการป่วยโดยการเตรียมอาหารปั่นผสมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือถ้าหากอาหารมาในรูปแบบสำเร็จรูป ที่มีทั้งชนิดน้ำ สามารถใช้ได้ทันที และชนิดผงใช้ชงกับน้ำต้มสุก โดยจะต้องมีอัตราส่วนตามแพทย์สั่ง ก็สามารถทำได้โดยง่ายเพียงน้ำไปผสมกับน้ำ


แต่ถ้าหากเป็นอาหารที่จัดเตรียมขึ้นเอง จะต้องมีการเลือกวัตถุดิบ คำนวณสูตร ปริมาณให้เหมาะสม แล้วนำวัตถุดิบมารวมกันปั่นละเอียด ทั้งนี้อาหารปั่นผสมที่จะนำไปให้ผู้ป่วยทางสายยางจะต้องมีความหนืด ความเหลวที่พอดี เพื่อให้ไหลผ่านสายยางให้อาหารได้อย่างคล่องตัว เพราะถ้าหากอาหารปั่นผสมมีความหนืดมากจนเกินไป อาจจะทำให้อาหารเกิดติดขัดภายในสายยางให้อาหารได้ ทำให้เกิดปัญหาระหว่างการให้อาหาร เช่น ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการสำลักอาหารได้ ดังนั้น ทุกขั้นตอนในการเตรียมอาหารปั่นผสม ไม่ว่าในรูปแบบใด ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก เพราะไม่ฉะนั้นอาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้ สำหรับเราคำนึงและใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตอาหารปั่นผสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่สะอาด ปลอดภัย เราผลิตจากห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาล จึงมั่นใจได้ว่าอาหารปั่นผสม จะมีคุณภาพและมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากโรงพยาบาลชั้นนำ ทั้งยังออกแบบสูตรโดยนักโภชนาการอีกด้วย

ไม่แม้แต่อาหารปั่นผสมที่จะต้องระมัดระวัง แต่เรื่องของอุปกรณ์ เครื่องมือในการให้อาหารทางสายยางก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากไม่ดูแลให้ดีก็อาจจะนำไปสู่การอักเสบติดเชื้อได้ เพราะเครื่องมืออุปกรณ์ทุกอย่างที่จะต้องนำมาใช้แก่ผู้ป่วยจะต้องมีความปลอดภัยมากที่สุดและผู้ดูแลจะต้องดูแลรักษาความสะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังจากการให้อาหารแก่ผู้ป่วย สำหรับวิธีการดูแลรักษาสายยางให้อาหารแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องทำการสังเกตและเปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางให้อาหารทุกๆ 2 – 3 วัน หรือเมื่อหลุด


แต่ในกรณีที่เกิดการหลุด ผู้ดูแลหรือญาติจะต้องพาผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เพื่อทำการใส่สายยางให้อาหารใหม่ ควรทำความสะอาดรูจมูก และบริเวณรอบๆจมูก หรือแผลบริเวณหน้าท้องด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ และที่สำคัญผู้ดูแลจะต้องระวังสายยางเลื่อนหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังเกตด้วย เพราะบางครั้งผู้ป่วยอาจจะดึงสายยางให้อาหาร อาจจะทำให้สายยางให้อาหารหลุดหรือเคลื่อนที่ได้ ถ้าสายยางเลื่อนหลุดไม่ควรใส่เอง เพราะอาจใส่ผิดไปเข้าหลอดลม ให้มาพบแพทย์ อย่างไรก็ตามควรพาผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนสายให้อาหารเมื่อสกปรก หรือทุกๆ 1 เดือน