การที่เป็นเจ้าของกิจการของธุรกิจที่มีการว่าจ้างบริษัทที่ช่วยดูแลบัญชี แต่ยังคงเจอกับปัญหาที่ทำให้ปวดหัว เช่น มีการทำงานที่ล่าช้า หรือเอกสารเกิดข้อผิดพลาดอยู่เป็นประจำ วันนี้ นรินทร์ทอง จะมาแนะนำคุณเกี่ยวกับการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี โดยเริ่มจากระยะเวลาที่เปลี่ยนควรเป็นช่วงไหน และขั้นตอนของการเปลี่ยนมีอะไรบ้าง
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ควรเปลี่ยนตอนไหน
เปลี่ยนระหว่างรอบถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนอย่างกะทันหัน และต้องมีความจำเป็นอย่างมากในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เพราะคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม จากสำนักงานบัญชีเก่าที่ไม่ได้อยู่ครบปีตามสัญญา
เปลี่ยนตอนต้นรอบช่วงที่นิยมเปลี่ยนสำนักงานบัญชีมากที่สุด คือ ตอนต้นรอบของบัญชีใหม่ เพราะการทำบัญชีในแต่ละรอบจะต้องมีการปิดบัญชี และส่งมอบเอกสารคืนให้กับผู้ประกอบการ (หากไม่ได้รับเอกสารต้องแจ้งกับทางสำนักงานบัญชี)
ซึ่ง 1 รอบของระยะเวลาในการทำบัญชี สามารถเริ่มต้นและสิ้นสุดในเดือนไหนก็ได้ แต่โดยส่วนมากจะเริ่มรอบในเดือนแรกของปี
ขั้นตอนการเปลี่ยนต้องทำอย่างไร?
รหัสผ่านตามช่องทางต่างๆ
- ขอรหัสในการนำส่งงบการเงิน ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ส่งงบการเงินผ่านระบบออนไลน์ หรือ DBD e-Filing
- ขอรหัสของการยื่นแบบนำส่งภาษี หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่มีเกณฑ์ต้องเสียภาษี สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์E-FILING
- ขอรหัสที่ทำธุรกรรมของประกันสังคม ถ้าต้องทำเรื่องแจ้งเข้า – แจ้งออกจากประกันสังคม สามารถทำผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม
เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี
- บิลซื้อและบิลขาย จะเกี่ยวข้องกับเงินที่เข้า – เงินที่ออก ซึ่งทางสำนักงานบัญชีจะทำเป็นชุดเอกสาร เช่น ใบสำคัญจ่าย และ ใบสำคัญรับ
- แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จ ประกอบไปด้วยแบบ ภ.ง.ด 1, ภ.ง.ด 3, ภ.ง.ด 53 และ ภ.พ. 30 กับส่งภาษีประจำปี ภ.ง.ด 50 และ ภ.ง.ด 51
- ภาษีซื้อและภาษีขาย (กรณีที่มี) ถ้าคุณมีรายได้ต่อปีมากกว่า 1.8 ล้านบาท จะมีการจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บ VAT อยู่ที่ 7%
- แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน นายจ้างหรือผู้ประกอบการที่มีการขึ้นทะเบียนนายจ้างเรียบร้อยแล้ว จะต้องขอแบบนำส่งประกันสังคมกับใบเสร็จรับเงิน
ข้อมูลการบันทึกบัญชี
ข้อมูลที่ต้องได้รับคืน: เป็นการหายอดคงเหลือที่ถูกต้อง ณ วันสิ้นงวดบัญชี ของบัญชีทุน บัญชีสินทรัพย์ และบัญชีหนี้สิน
- สมุดรายวันเฉพาะ คือ รายวันซื้อ, รายวันขาย, รายวันจ่าย และรายวันรับ
- สมุดรายวันแยกประเภท มีการแยกประเภทออกเป็น 2 ส่วน คือ ประเภททั่วไป และ ประเภทย่อย
- งบทดลอง มีทั้งหมด 5 หมวด คือ สินทรัพย์, หนี้สิน, ส่วนเจ้าของ, รายได้ และค่าใช้จ่าย
- ทะเบียนทรัพย์สิน จะเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงของทรัพย์สินที่คุณมีอยู่
ข้อมูลที่อาจจะมี: สมุดรายวันเฉพาะ, สมุดรายวันแยกประเภท, งบทดลอง และทะเบียนทรัพย์สิน
- ทะเบียนลูกหนี้ ทะเบียนเจ้าหนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่มีลูกหนี้การค้าหรือเจ้าหนี้การค้า
- รายละเอียดสินค้าคงเหลือ ในกรณีที่ธุรกิจของคุณมีการจำหน่ายสินค้า
- ยอดคงเหลือฝั่งสินทรัพย์และหนี้สิน การดำเนินธุรกิจของคุณมีสินทรัพย์และหนี้สินยอดคงเหลือในระดับที่สูง
ทำไมถึงต้องเตรียมตัวก่อนที่จะเปลี่ยนสำนักงานบัญชี?
การเตรียมตัวจะช่วยให้คุณเลือกระยะเวลาที่เหมาะสมอย่าง ตอนต้นรอบของบัญชีใหม่ เพื่อป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อน และที่สำคัญอย่าลืมขอรหัสผ่าน ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี รวมไปถึงขอข้อมูลการบันทึกบัญชีจากสำนักงานบัญชีที่เก่า
สนใจเปลี่ยนสำนักงานบัญชี ติดต่อได้ที่ นรินทร์ทอง!
เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี เพื่อให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด และรู้ทุกการเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่…
Facebook : [url=https://www.facebook.com/NarinthongAccounting/NarinthongOfficial]NarinthongOfficialE-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line :
@NarinthongTel : 081-627-6872 , 02-404-2339