ผู้เขียน หัวข้อ: รถชน…แจ้งใครบ้าง? วิธีรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ  (อ่าน 24 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ mr.oohoo

  • ไมล์ 601-1000
  • *
  • กระทู้: 803
  • คะแนน Like 0
  • จังหวัด: กรุงเทพ
  • ชื่อเล่น: oohoo

รถชน…แจ้งใครบ้าง? วิธีรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ



แจ้งใครบ้าง? เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
                   การเกิดอุบัติเหตแบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ เมื่อเราเป็นฝ่ายผิด ฝ่ายถูก และไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นฝ่ายผิด  มาดูกันว่า ในแต่ละกรณีมีวิธีรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุยังไงบ้าง
1. กรณีเป็นฝ่ายถูก
- แจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุและสภาพความเสียหาย
- ควรจดทะเบียนรถคู่กรณี ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ ของผู้ขับขี่ และเจ้าของรถยนต์ในกรณี 
- ให้คู่กรณีรับผิดโดยการลงชื่อในใบคำขอยอมรับผิด แล้วจึงเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
- ถ้ามีพยานในที่เกิดเหตุ ควรจดชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ของพยานเอาไว้ด้วย 
2. กรณีเป็นฝ่ายผิด
- แจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุและสภาพความเสียหาย
- ให้เขียนชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ ให้แก่คู่กรณี
- เคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
3.ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นฝ่ายผิด
- แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดอุบัติเหตุ
- รอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบและทำเครื่องหมายบริเวณอุบัติเหตุ แล้วเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
- ไม่ควรลงชื่อในเอกสารใด ๆ กับคู่กรณี
- แจ้งบริษัทประกันภัยทันทีเพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุ และสภาพความเสียหาย
                   เบื้องต้นวิธีรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยทำการสำรวจอุบัติเหตุและสภาพความเสียหาย เพราะเราจะได้เคลมประกันรถยนต์ตามที่กำหนดในกรมธรรม์ แต่หากมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ควรทำตามขั้นตอนดังนี้
มีผู้ได้รับบาดเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
1. ให้นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยด่วน โทร. 1669 จากนั้นแจ้งบริษัทประกันภัย
2. แสดงหลักฐานให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทราบว่ามีประกัน พ.ร.บ. รถยนต์
3. ไม่ควรตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณี โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย
4. แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีเรื่องถึงสถานีตำรวจ
มีผู้เสียชีวิตในอุบัติเหตุ
1. ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและแจ้งบริษัทประกันภัยทันที
2. มีความผิดทางอาญา ส่วนความผิดทางแพ่งบริษัทประกันภัย จะเข้าร่วมเจรจาและให้คำปรึกษา พร้อมทั้งรับผิดชอบค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
3. ปรึกษาเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยในการตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณี
*กรณีถูกชนแล้วคู่กรณีหนี จดจำทะเบียน ยี่ห้อ รุ่น สี และแจ้งสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ

เบอร์โทรฉุกเฉินที่ควรรู้ 
เบอร์โทรฉุกเฉินด้านการแพทย์
1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
1196 เมื่อพบเจออุบัติเหตุทางน้ำ
1554 หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
1691 โรงพยาบาลตำรวจ

แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
191 ติดต่อแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ
192 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
199 ศูนย์วิทยุพระราม เพื่อแจ้งอัคคีภัย/สัตว์ร้ายบุกรุกบ้าน
1418 มูลนิธิป่อเต๊กตึ๊ง กทม.
192 ศูนย์ปราบขโมยรถ (สตช.)
1193 ตำรวจทางหลวง - 1195 กองปราบ (สายด่วนแจ้งเหตุอาชญากรรม คดีร้ายแรงเป็นภัยต่อประเทศ)
1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม

เบอร์โทรฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินทาง
1137 วิทยุ จส.100 (เบอร์โทรฉุกเฉินแจ้งเหตุด่วนบนท้องเพื่อประสานงานต่อ)
1146 กรมทางหลวงชนบท (ติดต่อเรื่องท้องถนนเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด)
1197 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจรตำรวจ
1644 สวพ. FM91 (รายงานสภาพจราจรและแจ้งเหตุด่วนบนท้องถนน)
1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย (สอบถามสายรถไฟ ตั๋ว และอื่น ๆ )
1584 กรมการขนส่งทางบก
1586 สายด่วนกรมทางหลวง
1543 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

                   เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ควรรับมืออย่างมีสติ เรื่องประกันรถยนต์ก็ให้อย่าขาด! มองหาแหล่งต่อประกันรถยนต์ Mr.OOHOO ขอป้ายยาแหล่งรวมประกันรถยนต์ OOHOO.io มีให้เลือกหลากหลายแพ็กเกจ ทั้งซ่อมอู่ ซ่อมห้าง ทุนประกันสูง ประกันรถยนต์ชั้น 1 ผ่อน 0% นาน 10 เดือน*หารเท่า คุ้มครองครอบคลุม ราคาสุดคุ้ม แถมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินแบบจัดเต็ม 


ที่มาข้อมูล : thonburihealthvillage / สถาบันขับขี่ปลอดภัย