รู้จักชนิดของฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่ ขายกันปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ ฟิล์มธรรมดา ฟิล์มปรอท ฟิล์มเคลือบสารพิเศษ และฟิล์มนิรภัย
1.ฟิล์มกรองแสงชนิดธรรมดาฟิล์มกรองแสงธรรมดา เป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกสีเข้มเพื่อลดแสงสว่างจากภายนอก ความสามารถในการกรองแสงขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยสีอาจถูกผสมเข้าไปในเนื้อฟิล์ม หรืออยู่ในกาว หรือเคลือบบนผิวฟิล์ม ฟิล์มกรองแสงชนิดนี้สะท้อนรังสีความร้อนได้น้อยหรือไม่สะท้อน จุดเด่นของฟิล์มกรองแสงธรรมดาคือ ราคาถูก แต่จุดด้อยคือ มีอายุการใช้งานไม่นานเมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มกรองแสงประเภทอื่น โดยเมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง สีของฟิล์มจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีน้ำตาลอ่อน (เรียกว่า ฟิล์มขึ้นสนิม) ซึ่งจะลดทัศนะวิสัยในการขับขี่ได้
1.1. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว
1.2. ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี
1.3. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม
1.4. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม
2.ฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะฟิล์มกรองแสงเคลือบโลหะ หรือฟิล์มปรอท เป็นฟิล์มกรองแสงที่สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ เนื่องจากผิวด้านหนึ่งของฟิล์มถูกเคลือบด้วยโลหะ ฟิล์มประเภทนี้อาจมีการใส่สีลงไปเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น สำหรับเทคนิคหรือวิธีการเคลือบโลหะลงบนเนื้อฟิล์มที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 วิธีคือ 1.การเคลือบในสุญญากาศ (vacuum coating) และ 2.การเคลือบสปัตเตอริง
ซึ่งก็สามารถแบ่งได้เป็นชนิดโครงสร้างหลักๆตามฟิล์มกรองแสงชนิดธรรมดาคือ
2.1. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีผสมในกาว + โลหะ
2.2. ฟิล์มกรองแสงประเภทย้อมสี + โลหะ
2.3. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม + โลหะ
2.4. ฟิล์มกรองแสงประเภทสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม + โลหะ
3.ฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบสารพิเศษโดยสารพิเศษนี้จะเป็นสารที่สามารถป้องกันรังสีอินฟาเรดได้ดีกว่าปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้จะเป็นฟิล์มกรองแสงที่มีความทึบแสงน้อย ซึ่งฟิล์มกรองแสงประเภทนี้มีราคาสูงกว่าฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะ
4.ฟิล์มนิรภัยเป็นฟิล์มกรองแสงที่มีความหนาของเนื้อฟิล์มตั้งแต่ 4 MIL ขึ้นไป (1 MIL = 1 / 1000 นิ้ว) มีคุณสมบัติในการยึดเกาะกระจกได้ดี เหมาะสำหรับในอาคารสูง และในกรณีที่มีความหนาของเนื้อฟิล์มมากๆ สามารถใช้ในการป้องกันการโจรกรรมรวมถึงป้องกันกระสุน(ขึ้นอยู่กับความหนาของเนื้อฟิล์มและกระจก)
และอีกเรื่องคือเบอร์ฟิลม์กรองแสง ต้องกล่าวย้อนไปช่วงที่ฟิลม์เข้ามาแรกๆ สมัยนั้นจะมีเบอร์ฟิล์มอยู่น้อย คือ 05, 20, 35, 50 ซึ่ง1. เบอร์ 05 หมายถึง แสงผ่านได้ 5 % ฟิล์มเข้ม 95 %
2. เบอร์ 20 หมายถึง แสงผ่านได้ 20 % ฟิล์มเข้ม 80 %
3. เบอร์ 35 หมายถึง แสงผ่านได้ 35 % ฟิล์มเข้ม 65 %
4. เบอร์ 50 หมายถึง แสงผ่านได้ 50 % ฟิล์มเข้ม 50 %
แต่ที่เข้าใจผิดของบ้านเรามาจนบัดนี้คือ
1. ฟิลม์เบอร์ 05 เรียกผิดว่า ฟิล์ม 80 %
2. ฟิล์มเบอร์ 20 เรียกผิดว่า ฟิล์ม 60 %
3. ฟิล์มเบอร์ 50 เรียกผิดว่า ฟิล์ม 40 %รวมถึงการโฆษณาเกินจริงว่ากันรังสีได้ 99 % แท้จริงเป็นข้อมูลที่บอกไม่หมด เพราะรังสีจากแสงแดดมีอยู่ 3 ส่วนที่จะให้ความร้อนและมีสัดส่วนไม่เท่ากันดังนี้
1. ความร้อนจากแสงสว่าง 44%
2. ความร้อนจากรังสีอินฟาเรด 53% (IR)
3. ความร้อนจากรังสียูวี 3%(UV)
จะเห็นได้ว่า ความร้อนนั้นมาจากทั้งรังสีและแสงสว่าง ซึ่งค่าจากการป้องกันรังสี เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเอามาตัดสินใจได้จริง และการดูคุณสมบัติการกันความร้อนของฟิล์ม ควรดูที่ ค่าการกันความร้อนโดยรวม (TSER) ซึ่งค่านี้จะเป็นค่าที่สรุปการกันความร้อนทั้งหมดของฟิลม์แล้วการปฎิบัติหลังติดฟิล์มกรองแสง1. ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลง หรือ เช็ด ถูฟิล์ม ภายใน 7 วัน หลังจากติดตั้ง เนื่องจากกาวของฟิล์มกรองแสงจะใช้ระยะเวลาในการอยู่ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม เช่น การถูกแสงแดด ควรจะรอให้ครบระยะเวลาก่อนจึงเลื่อนหรือเช็ดกระจกได้
2. หากมีปัญหาอื่นใด เช่น มีฟองอากาศ หรือ ฟิล์มอ้า ฯลฯ ให้รีบติดต่อศูนย์บริการภายในระยะเวลารับประกัน
3. ในการทำความสะอาดฟิล์มกรองแสง ควรใช้ผ้าสะอาด ผ้านุ่มหรือฟองน้ำ ร่วมกับน้ำยาทำความสะอาดฟิล์ม เพื่อกำจัดคราบมัน และไม่ควรนำวัสดุที่ลักษณะเป็นของแข็งหรือผิวไม่เรียบเช็ดถูที่กระจกเป็นอันขาด
4. ห้ามใช้น้ำยาเช็ดกระจกหรือสารเคมีที่มีส่วนประกอบของแอมโมเนีย ( NH4) เพราะอาจทำให้ ชั้นกันรอยของฟิล์มเสียหายได้
5. ควรหมั่นดูแลรักษาร่องกระจก ไม่ให้มีเศษทรายหรือก้อนกรวดค้างอยู่ในราง เพราะจะทำให้ฟิล์มกรองแสงเกิดความเสียหายได้
ข้อมูลจาก
รู้จักฟิล์มกรองแสง 1รู้จักฟิล์มกรองแสง 2http://www.toyotanon.com