ผู้เขียน หัวข้อ: ท่อสูตรVCEลิ้นแปรผันเร่งไวขึ้นจากเดินเบาลากเกียร์ได้ยาวกว่า/Dyno1,2(ลากเกียร์),3  (อ่าน 103045 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1



----

ลูกค้าท่านแซวว่าไม่เห็นผมลงอัพเดทใหม่ๆเลย วันนี้ก็เลยขออัพเดทนะครับ




ฟอร์จูนเนอร์ 2.8 AT diesel turbo ใหม่ๆ ป้ายแดงเพิ่งซื้อมายังไม่ถึงหนึ่งเดือนดี ลูกค้าท่านนี้เคยใช้ท่อ VCE กับรถฟอร์จูนเนอร์คันเก่าของท่าน ท่านรับรู้ถึงผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเมื่อติดตั้งท่อ VCE (ติดเพิ่มเข้าไปช่วงใต้ท้องรถ) กับรถคันเก่าของท่านเป็นอย่างดี เมื่อท่านซื้อรถคันใหม่ท่านก็ไม่ลังเลที่จะมาติดตั้งเพิ่มท่อ VCE (ที่เส้นท่อไอเสียใต้ท้องรถ) เพราะท่านมีประสบการณ์มาแล้วว่า ท่อ VCE ที่ติดตั้งเพิ่มนั้นสามารถเพิ่มแรงบิดในช่วงรอบต่ำและช่วงรอบกลางได้ ทำให้กดคันเร่งเบาๆรถก็มีแรงพุ่งดีขึ้นอีก




_______

เดี๋ยวนี้ทิศทางการค้าดูท่าจะไปทางออนไลน์กันหมดแล้ว ผมจึงอยากแนะนำให่ท่านผันตัวเองไปทางออนไลน์กันนะครับ ก่อนอื่นใด ท่านลองสำรวจตัวท่านเองดูก่อนครับว่า ท่านถนัดงานอะไรบ้าง และถ้าจะให้ดีที่สุด ถ้างานนั้นท่านมีใจรักเป็นทุนเดิมอยู่แล้วท่านก็จะยิ่งได้เปรียบ เพราะท่านจะสามารถจดจ่ออยู่กับงานนั้นได้แทบทั้งวันเลยทีเดียว

เพราะท่านจะทำด้วยใจรักและไม่มีเบื่อ ขอให้ท่านใช้ความคิดอ่าน ใช้ความตั้งใจของท่านทำงานนั้นๆ ให้ดีที่สุด แล้วเปิดตัวออนไลน์ออกไปเลย ขอให้โชคดีเป็นของทุกๆท่านครับ / พี่พร
 



ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1
ทีฆายุโก โหตุ ทศมินทรราชา

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1
เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง


ทรงพระเจริญ



ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1



วันนี้วันพระ และวันสารทจีน

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1


เมื่อหลายปีก่อนผมใช้งานรถเก๋งอยู่คันหนึ่ง รถคันนี้ติดแกส LPG ทำเฮดเดอร์แบบ 4:2:1 มา แถมด้วยหม้อพักทุกลูกเป็นไส้ตรงอีก ถึงแม้จะเป็นเกียร์ธรรมดาแต่ก็ขับยากมา ยากในช่วงรอบต่ำเพราะเรี่ยวแรงหายหมด (เรี่ยวแรงจะดีเฉพาะรอบสูง แต่ใครจะลากรอบสูงตลอด ยังไงรอบเครื่องก็จะต้องกวาดขึ้นไปจากรอบต่ำอยู่เสมอ ) อาการรอบต่ำไม่มีแรงจะทำให้เราต้องขับแบบคอยเลี้ยงคันเร่งไว้ที่รอบสูงๆ และในจังหวะที่ต้องกดคันเร่งก็จะต้องรีบกด และก็ต้องรีบเบรคด้วย (เพราะกว่าเรี่ยวแรงจะมาจะใช้เวลานาน พอแรงมาคันหน้าเบรคจะจอดแล้ว)

ผมแก้ปัญหานี้ด้วยการออกแบบท่อที่ทำการบีบและขยายรูท่อได้แบบแปรผัน ขณะที่ออกแบบก็คิดว่ามันต้องได้ผล (เพราะเคยมีประสบการณ์เรื่องท่อไอเสียมาพอสมควร รู้ว่าถ้าท่อโล่งช่วงรอบต่ำจะไม่ดี/ไม่ว่าเครื่องเบนซินหรือดีเซลเทอร์โบ) ออกแบบเสร็จก็ไปจ้างร้านทำขึ้นมา แล้วจึงไปจ้างร้านท่อไอเสียทำการติดตั้ง

ติดตั้งเสร็จลองวิ่งใช้งานดู สัมผัสแรกก็โอเคเลยครับ เรี่ยวแรงขึ้นมาในระดับที่น่าพอใจเลย จากที่ว่ารอบต่ำแย่มาก ก็กลายเป็นรอบต่ำที่ไหลๆ


ต่อมาซื้อ mazda 2 1.5 MT ป้ายแดงมาก็เจอปัญหารอบต่ำไม่ดีอีก เวลาออกตัวช้าๆ เคยกระตุกดับบ่อยครั้ง เวลาขับคลานขึ้นเนินนี่ต้องระมัดระวังให้ดีอย่าเผลอ


ปัจจุบันมาใช้ captiva 2.0 awd (2.0 diesel turbo) คันนี้ก็คล้ายๆกับ mazda 2 1.5 MT ถึงแม้ว่าจะเป็นเกียร์ AT ไม่ต้องยุ่งกับดลัชก็ขับลำบากในรอบต่ำเช่นกัน  กดคันเร่งไปแล้วแต่รถไม่ได้มีอาการพุ่งทันทีตามเท้า ทำให้เวลาขับตามๆ กันในเมืองค่อนข้างคอนโทรลลำบาก ปัจจุบันใส่ท่อ VCE อยู่เวลาจะออกตัวจากเดิมที่ต้องไปกดคันเร่งจึงจะเริ่มเคลื่อนตัวก็ทำเพียงคลายการกดแป้นเบรคเล็กน้อยรถก็เริ่มเคลื่อนตัวแล้ว


นั่นเป็นเรื่องของประวัติความเป็นมาและเป็นไปของท่อ VCE


ตามประสาของคนที่ชอบคิดโน่นคิดนี่อยู่ตลอด ในช่วงที่ผ่านมาราวๆปีหรือสองปีที่ผ่านมานี้ผมได้คิดโปรเจคอย่างหนึ่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองความชอบของผมเองซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับท่านทั้งหลายก็ได้ เนื่องจากผมเป็นคนชอบฟังเพลงกับชุดเครื่องเสียงภายในบ้าน ตามประสาของผมอะไรที่ผมทำเองได้ก็จะทำมันครับ (เครื่องเล่น CD ปรีแอมป์ แอมป์ หรือ อินติเกรเต็ดแอมป์ผมจะซื้อเครื่องสำเร็จมาครับแต่ตู้ลำโพงผมจะทำเอง)

ลืมบอกท่านไป อาชีพดั้งเดิมของผมคือนักทดสอบเครื่องเสียงครับ ทำงานครั้งแรกที่ Hi-FI STEREO  ในฉายา ลักษณ์พิจารณ์ (คุณพิพัฒน์ คคะนาทตั้งให้) และชื่อจริง
พิชลักษณ์ และถัดจากนั้นทำฟิแลนซ์อยู่ในเครือของ WHAT HIFI และมีบางบทความที่ STREO และฯลฯ สุดท้ายไปประจำอยู่ที่ GM2000 อยู่พักใหญ่ๆ ในชื่อ พิชลักษณ์-เสริมชัย สุดท้ายก็ลาออกไปครับ


รวบรัดสั้นๆ คือเคยมีอาชีพคลุกคลีอยู่กับเครื่องเสียงและลำโพงมาหลายปี ลืมบอกไปอีกนิด สมัยที่ทำงานทดสอบเครื่องเสียงและลำโพง ลำโพงที่ใช้เป็น reference ผมก็ทำมาใช้งานเองครับ เป็นแบบวางขาตั้ง ไดร์เวอร์มิดเบสขนาด 5 นิ้วเศษไดร์เวอร์เสียงแหลมขนาด 3/4 นิ้ว (สแกนสปีคทั้งคู่) ตู้ออกแบบเป็นแบบ time alighment ครอสส์ใช้แบบ 1th order มีท่อระบายหลังตู้ ที่บ้านก็ทำเป็นตู้ลำโพงวางพื้น ไดร์เวอร์ 8 นิ้วสองทาง วางไดร์เวอร์แบบ time alighment และ ครอสส์ก็แบบ first order เช่นกัน


ปัจจุบันลำโพงวางพื้นยังอยู่แต่ใช้งานไม่ได้เพราะผมทำไดร์เวอร์เสียงแหลมข้างหนึ่งชำรุด (ทำหล่นลงพื้น) ส่วนลำโพงวางขาตั้งผมเอาไปวางไว้ไหนแล้วก็ไม่รู้ครับ นอกจากนั้นผมยังมีลำโพงวางขาตั้งขนาดเล็กๆ ใช้ไดร์เวอร์ 4 นิ้วอยู่อีกคู่หนึ่งครับ ทีนี้ไอ้เจ้าตัวเล็กนี่เนื่องจากขนาดที่เล็กของมันก็เลยจะหวังเอาเบสลึกๆจากมันก็ไม่ได้ เลยเป็นที่มาให้ผมได้คิดโปรเจคที่จะทำลำโพงวางขาตั้งที่ให้เบสที่ลึกกว่านั้นขึ้นมา


ก่อนจะทำโปรเจคลำโพงวางขาตั้งตัวล่าสุดขึ้นมา ผมได้วางเค้าโครงไว้คร่าวๆก่อนแล้วว่า ต้องเลือกใช้ไดร์เวอร์ที่ชั้นดีหน่อยแล้วทำการอัพเกรดมันขึ้นไป ออกแบบตู้ให้เป็นแบบ time alighment และออกแบบครอสส์แบบ 1 th order เช่นเดิม และอุปกรณ์ทุกชิ้นตรวจสอบทิศทาง (โดยการฟัง) ทั้งหมดก่อนติดตั้ง เพื่อให้ประกอบเข้าไปแบบถูกทิศถูกทางทั้งหมด ไม่มีการละเลยหรือประมาทในจุดใด

ในช่วงแรกมีเพียงไดร์เวอร์เท่านั้นที่อัพเกรดขึ้นไปอย่างเต็มที่ (เพราะลงมือ modify เองเลยครับ) อุปกรณ์อื่นๆ เช่น inductor , capacitor, resistor ยังใช้อุปกรณ์ระดับมาตรฐานทั่วไปก่อน (ค่อยอัพเกรดภายหลัง ซึ่งทำได้ไม่ยาก) การออกแบบครอสปัจจุบันง่ายมากค้นจากอินเตอร์เน็ตได้ เพียงแต่คุณต้องมี DATS เพื่อใช้วัดค่า TS parameter
ที่แท้จริงของไดร์เวอร์ก่อนครับ เพราะค่าที่ให้มาจากโรงงานส่วนใหญ่จะคลาดเคลื่อนครับ แล้วก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญใช้ในการตรวจสอบระหว่างที่กำลังทำการ modify ไดร์เวอร์ครับ การออกแบบตู้ปัจจุบันก็สะดวกแล้วค้นจากอินเตอร์เน็ตเช่นกันครับ แต่สุดท้ายก็ต้องใช้การฟังในการเลือกขนาดตู้ที่ลงตัวที่สุดครับ การออกแบบครอสส์ก็เช่นกัน สุดท้ายก็จบที่การฟังครับ ขั้นตอนเหล่านี้จะใช้เวลามากครับ (นานช้าขึ้นอยู่กับเวลาในการเบิร์นด้วยและการแก้ปัญหาและประสบการณ์ของผู้ออกแบบด้วยครับ)

ปัจจุบันโปรเจคลำโพงวางขาตั้งตัวล่าสุดอยู่ในระหว่างการฟังทดสอบครับ ผ่านขั้นตอนครอสส์และการแมทช์ตู้ไปแล้ว (ไดร์เวอร์เสียงแหลมยังไม่ได้ modify แต่จากการทดสอบเสียงก็อยู่ในระดับมาตรฐานชั้นดี แต่สุดท้ายก็คงต้อง modify มันครับ เพราะตอนที่ทดสอบเปรียบเทียบวัดค่า THD (ทอร์ทอลฮาร์มอนิคดิสทอชั่น หรือ ความเพี้ยนทางความถี่คู่ควบโดยรวม) ช่วงความถี่ใกล้จุดตัดจะมีความเพี้ยนสูงกว่าไดร์เวอร์พื้นๆ ที่ได้ทำการ modify ไปแล้วพอสมควรครับ และด้วยเสียงฉาบที่สะอาดชัดเจนและพริ้วอย่างเหนือชั้นกว่าของตัวโดมที่ผมใช้ reference อยู่ที่ดีกว่าอย่างชัดเจนนั้นทำให้สุดท้ายผมต้องทำการ modify มันครับ.



คราวต่อไปผมจะเอาผลการวัดทดสอบเปรียบเทียบระหว่าง dome tweeter ทั้งสองครับ (ไดร์เวอร์พื้นๆ ที่ modify แล้ว กับ ไดร์เวอร์เดิมๆ โรงงานชั้นดี) และคราวต่อไป before vs after modify dome tweeter ครับ



ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1



@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

พระพุทธเจ้าท่านก็คือพระพุทธเจ้าครับ มิอาจที่จะเปรียบเทียบกับใครได้ ถือว่าสูงที่สุดแล้วครับ

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

 ตามที่ได้บอกกล่าวไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าจะนำกราฟเปรียบเทียบให้เห็นว่า เมื่อได้ทำการโมดิฟายส์ ทวีคหรือปรับปรุงสมรรถนะตัวลำโพง (ไม่ว่าโดมทวีตเตอร์ หรือ วูฟเฟอร์) ผลที่ได้รับนอกจากผลตอบสนองความถี่ที่ราบเรียบกว่า ความเพี้ยนหรือ THD (Total harmonic distortion) ยังน้อยกว่าด้วย ซึ่งในวันนี้ก็จะนำผลการวัดมาให้ท่านดูระหว่างโดมทวีตเตอร์ระดับพื้นๆที่ modify แล้วกับโดมทวีตเตอร์ชั้นดี ว่าสามารถให้ THD ได้น้อยกว่าโดมทวีตเตอร์ชั้นดีได้จริงและได้มากน่าพอใจทีเดียวครับ

แต่ก่อนอื่น ขอแสดงภาพ Noise floor ห้องที่ทำการวัดโดมทวีตเตอร์ชั้นดีนั้นก่อน ที่ขณะทำการวัดได้เปิดแอร์ด้วย :7j’กราฟของโดมทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify จะทำการวัดที่ห้องนี้ (ให้ข้อสังเกตว่า กราฟน้อยส์ฟลอร์หรือเสียงแบคกราวน์ที่เป็นพื้นเสียงจะมีโด่งแหลมขึ้นไปพอสมควรที่บริเวณมากกว่า 10KHz เล็กน้อย/เกิดจากการทำงานของแอร์/ และช่วงก่อน 20KHz ก็จะมีโด่งขึ้นไปด้วยเล็กน้อย ดังนั้น เวลาดูกราฟ THD ของโดมทวีตเตอร์ชั้นดี (TW 30A) นั้น (ขอเรียกว่าทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify ก็แล้วกัน) ที่จุดความถี่ดังกล่าวที่มีโด่งขึ้นมาลักษณะเดียวกันก็จะไม่เกี่ยวกับตัวทวีตเตอร์ครับ เพราะไมค์ที่จับเสียงในขณะนั้นจับว่าเสียงมีโด่งลักษณะนั้นอยู่ก่อนแล้ว)


ต่อไป Noise floor ห้องชั้นล่างน้อยส์ฟลอค่อนข้างราบเรียบแต่มีโด่งสูงที่ช่วงความถี่แถวๆ 20KHz ซึ่งโดมเรพเฟอร์เรนจ์ที่นำมาเปรียบเทียบที่ได้ทำการโมดิฟายล์ไปแล้ว (ขอเรียกว่า Modify tweeter ก็แล้วกันครับ) เช่นกันกราฟของโดม Modify tweeter ดังกล่าวที่เห็นโด่งแหลมที่แถวๆ 20KHz ก็เป็นการโด่งของน้อยส์ฟลอร์อยู่ก่อนแล้วเช่นกันครับ



ขอเริ่มที่ความถี่ 2000Hz (หรือ 2KHzนั่นเอง) ข้ามช่วง 4-5KHz ไปเพราะความแรงของเสียงความถี่หลักขณะทำการวัดค่าช่วงนั้นความดังของเสียงต่างกันมากไปครับ ขอนำมาเปรียบเทียบตั้งแต่ความถี่ 2KHz ไปจนถึง 7KHz ครับ

Modify tweeter 2KHz THD

ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 2KHz THD


Modify tweeter 3KHz THD


ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 3KHz THD


Modify tweeter 6KHz THD

ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 6KHz THD



Modify tweeter 7KHz THD

ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 7KHz THD


ท่านลองสังเกตดีๆจะเห็นว่า โดมทวีตเตอร์ที่ทำการ modify จะให้ THD น้อยกว่า (และลด harmonic ที่เป็นเลขคี่/ ในที่นี้ก็คือ 3และ 5th harmonic/ ซึ่งเมื่อฮาร์โมนิคคู่เด่นกว่าฮาร์โมนิคคี่/ในที่นี้ฮาร์โมนิคคู่ก็คือ 2 และ 4th harmonic เสียงก็จะฟังดูแห้งหรือบอบบางน้อยกว่าและฟังดูใกล้เคียงกับเสียงเครื่องคนตรีในธรรมชาติมากกว่าครับ)

ยกตัวอย่าง
 
กราฟ THD ความถี่หลักที่ 6KHz  ก็ให้พิจารณาที่ 2th harmonic ของความถี่ 6KHz (6000x2=12000Hz)คือความถี่ 12KHz กับ 3th harmonic ของความถี่ 6KHz (6000x3=18000Hz)คือ ความถี่ 18KHz
เปรียบเทียบให้ดูระหว่างกราฟแรกของโดม modify กับกราฟถัดไปของโดมทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify
จะเห็นว่า กราฟแรกของโดม modify ค่า THD ของ 2th harmonic ของความถี่ 6KHzซึ่งก็คือที่โด่งแหลมขึ้นไปที่ 12KHz มันโด่งน้อยกว่าของโดมทวีตเตอร์ชั้นดีในกราฟที่สอง และ 3th harmonic ของความถี่ 6KHzซึ่งก็คือที่โด่งแหลมขึ้นไปที่ 18KHz ก็โด่งน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกันกราฟที่สอง ครับ

Modify tweeter 6KHz THD

ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 6KHz

นี่คือ modify แล้ว THD ดีกว่ามากจริงๆ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16ก.ย.2019, 10:55:57 โดย phorn »

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1


วันนี้วันพระครับ

ท่อ VCE คือท่อที่ภายในมีวาวล์ขนาดใหญ่ที่หรี่ขนาดรูท่อได้และขยายรูท่อได้ตามแรงดันรอบเครื่อง ทำให้เครื่องยนต์มีแรงบิดที่รอบต่ำและรอบกลางดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าท่านต้องการให้รถของท่านมีแรงบิดเพิ่มที่รอบต่ำและรอบกลาง (รอบสูงพอๆกับของเดิม) ท่านไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากติดตั้งท่อไอเสีย VCE เพิ่มเข้าไปที่ช่วงก่อนหรือหลังพักกลางรถของท่าน สนใจติดต่อ โทร 0851423903 หรือติดต่อทางไลน์ โดยค้นหาด้วยเบอร์โทร 851423903 (ไม่ต้องพิมพ์เลข 0)

ถ้าท่านต้องการแรงบิดช่วงรอบสูง (รอบต่ำไม่สามารถช่วยได้) ท่านหันไปทางติดเฮดเดอร์เลยครับ (ถ้าท่านต้องการแรงบิดรอบต่ำแต่ท่านไปติดเฮดเดอร์ก็เสียใจด้วยครับท่านไปผิดทาง)

ถ้ารถท่านเป็นดีเซลคอมมอลเรลเทอร์โบท่านอยากได้แรงบิดรอบกลางและรอบสูงบางท่านก็ไปจูนกล่องจูนเพิ่มบูสท์และจูนเพิ่มแรงดันปั๊มได้แต่ท่านต้องระมัดระวังในการทำท่านต้องศึกษาก่อนติดตั้งนะครับ กรณีนี้ท่านไม่สามารถจูนแรงบิดเพิ่มที่รอบต่ำมากๆได้ (นึกไม่ออกว่าท่านจะจูนบูสท์เพิ่มที่รอบเครื่องใกล้ๆรอบเดินเบาได้อย่างไร) ท่านจะจูนเพิ่มแรงดันปั๊มที่ใกล้รอบเดินเบาก็ไม่ได้เครื่องเขก (มีหลายท่านแล้วที่จูนกล่องหรือโมดิฟายล์เครื่องมาด้วยวิธีต่างๆ แล้วก็ยังต้องมาติดตั้งเพิ่มท่อ VCE ครับ เพราะหน้าที่ของท่อ VCE มันทำงานตรงจุดที่ต้องการพอดี คือ เพิ่มแรงบิดช่วงรอบต่ำและรอบกลางโดยรอบสูงไม่ด้อยลง

///////////////////////////////////////////////
 
ต่อไปมาเล่าเรื่องโมดิฟายล์ดอกลำโพงกันต่อครับ จากที่ได้สัญญาไว้ก่อนหน้านั้นว่าต่อไปจะนำรายละเอียดเปรียบเทียบระหว่าง THD หรือ ความเพี้ยนของเสียง ที่ว่าก่อนทำการโมฯ และหลังการโมฯแล้ว ความเพี้ยนลดลงไปแค่ไหนอย่างไร
แต่พอไปค้นดูไฟล์ภาพที่เก็บไว้ก็พบว่าโดมทวีตเตอร์โนเนมที่โมฯ แล้วตัวที่เทียบกับ TW30A ผมหาไฟล์ภาพก่อนการโมฯไม่เจอ แต่ก็ไปเจอไฟล์ของโดมทวีตเตอร์โนเนมอีกตัว (ซึ่งเป็นดอกที่คุณภาพจะแย่กว่า) มีภาพ before (ก่อน) โมฯ (modify) และหลัง (after)ที่ทำการโมฯ
จึงขอนำภาพ before vs after modify มาให้ท่านชมกันก็แล้วกันนะครับ

เริ่มด้วย before หรือก่อนโมฯ สลับกับหลังโมฯหรือ after ที่ป้อนความถี่เดียวกัน

โดมโนเนม before ความถี่ที่ป้อน 3Khz


โดมโนเนม after โมฯแล้ว ความถี่ 3KHz


จะเห็นได้ว่าเมื่อโมฯแล้วความเพี้ยนลดลงทั้งฮาร์โมนิคคู่และฮาร์โมนิคคี่ ในที่นี้ ฮาร์โมนิคคู่ของความถี่ 3KHz คือ 6KHz และ 12KHz  ฮาร์โมนิคคี่คือ 9KHz และ 15KHz ขอให้ท่านดูความสูงของยอดแหลมของความถี่หลัก คือ 3KHz เทียบกับความสูงของความถี่ฮาร์โมนิค จะเห็นได้ว่าก่อนโมฯ ความสูงของความถี่ที่เป็นฮาร์โมนิคของ 3KHz จะมีความสูงที่ใกล้ๆกับความถี่หลัก (ความถี่หลัก 3KHz) และ after หรือภายหลังโมฯแล้ว ความถี่ฮาร์โมนิคได้ลดลงจริงๆ ซึ่งดอกลำโพงไม่ว่าดอกเสียงแหลม (Tweeter) หรือดอกเสียงทุ้มและกลาง (Mid-woofer) ที่มีความเพี้ยนยิ่งน้อยมากเท่าไหร่ก็นับว่ายิ่งมีคุณภาพสูงมากเท่านั้น

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1
วันนี้ตรงกับวันออกพรรษา



และเป็นวันคล้ายวันสวรรคตในหลวง ร.9

ออฟไลน์ phorn

  • ไมล์ 1001-2000
  • *
  • กระทู้: 1142
  • คะแนน Like 1
วันนี้วันพระครับ




////////______




สนใจท่อ VCE โทร 0851423903 ครับ


หรือ ทางไลน์โดยค้นด้วยเบอร์โทร.      851423903



//////_____



มาพูดถึงความคืบหน้าเรื่องลำโพงต่อครับ

หลังจากเบิร์น tweeter ไปพักใหญ่ๆ. เสียงก็พริ้วมากขึ้น น้ำหนักเสียงช่วงที่ต่อกับเสียงกลางสูงดีขึ้น และเสียงแหลมปลายๆก็มีเนื้อดีขึ้นด้วย (ทวีตเตอร์รุ่นนี้ให้ปลายเสียงที่คมใสเด่นชัดมาก) TW030WA นี่เดิมๆก็จัดว่าให้เสียงได้ใสสะอาดดีเยี่ยมอยู่แล้วก็ดีขึ้นครับ (อย่างไรก็ตามผมก็อยากได้ความอิ่มเนียนและความเป็นธรรมชาติของเนื้อเสียงหรือ timbre ที่ถูกต้องและมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเพิ่มมากกว่านี้อีกหน่อย) ซึ่งถ้าไม่ลงทุนโมฯเองก็ต้องเปลี่ยนทวีตเตอร์เป็นตัวอื่นที่สามารถให้คุณสมบัติเช่นนั้นได้ ซึ่งถ้าหาใหม่ก็ติดที่เรื่องราคาค่าตัวที่สูงกว่า TW030WA หลายเท่า (ระดับราคาต่อคู่ 3-50000 มั้งครับต่อค่าตัวทวีตเตอร์ 1คู่)