ดูผลทดสอบเมื่อติดตั้งท่อสูตร VCE (ติดตั้งเพิ่มเข้าไปเฉยๆ) กับรถระบบไอเสียเดิมโรงงานที่หน้า 1และดูผลการลากเกียร์ที่ลากได้ยาวขึ้นบนไดโน่ที่หน้า 3 และดูผลการลากเกียร์ได้แรงม้าเพิ่ม 40 แรงม้า หน้า 13 ดูผลความประหยัด หน้า 12 แมสเซสส่งมาทางโทรศัพท์รออัพภาพใหม่ครับ (ยังหาภาพในสต็อกไม่เจอ)
ดูกราฟไดโนรถทำโล่งมา หน้า 30ผมว่ายากที่คุณจะได้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมาจากพ่อค้าท่อไอเสีย แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะด่วนสรุปไปก่อนว่าทุกคนจะเป็นเช่นนั้นหมดนะครับ
ผมลองเข้าไปที่เวปไซต์ร้านท่อบางที่เขาก็ให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมาพอสมควร เช่น ท่อแต่งแบบลงหน้าเพลาของรถปิ๊คอัพ เขาก็จะบอกว่า ของเขานะ ถ้าท่อขนาด 3 นิ้วทั้งเส้นนะจะได้ช่วงรอบกลางและรอบสูง แต่ถ้าท่อขนาด 2 นิ้วทั้งเส้นจะได้ช่วงรอบต้น (ที่ดีกว่า) ทั้งคู่เป็นท่อแบบลงหน้าเพลาไม่มีหม้อพัก
อืม อย่างนี้ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภคหน่อย ไม่ใช่อะไรก็ต้นดีกลางได้ปลายดี คือ สรุปดีหมด (ทั้งๆ ที่ขัดกับหลักการทางวิศวกรรมยานยนต์อย่างชัดเจน)
ท่อไอเสีย VCE หรือ ท่อสูตร VCE แตกต่างจากหม้อพักไอเสียทุกชนิด
เรื่องท่อไอเสียเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ครับ ถ้าคุณทำให้รอบต้นดีรูท่อมันต้องเล็กๆ แต่รูท่อเล็ก รอบกลางขึ้นไปก็ไม่ดีเท่าท่อรูใหญ่ ในขณะที่รูท่อขนาดใหญ่รอบต้นก็ไม่ดีไม่มีแรง แรงขึ้นช่วงรอบกลาง รอบปลายสุดก็ไม่ดีอีก
ระบบไอเสียรถยนต์ไม่ใช่ใช้วิธีทำให้อั้นแต่เพียงอย่างเดียวหรือทำโล่งไปเลย ระบบไอเสียจากโรงงานจึงออกแบบมาให้ดีทั้งต้น กลางและปลาย (แต่ไม่ใช่ดีหมดทุกช่วง) เขาจะใช้วิธีเฉลี่ย ซึ่งเป็นวิธีเฉลี่ยสำหรับทั้งช่วงรอบสูงและรอบต่ำ (ซึ่งเป็นแค่วิธีคร่าวๆ ที่ก็ให้ผลคร่าวๆ ไม่ได้ดีที่สุดไปทั้งหมดทุกช่วงรอบเครื่อง)
ดังนั้นคุณสามารถดัดแปลงระบบไอเสียจากของโรงงานให้ดีขึ้นได้
โดยวิธี ถ้าคุณทำให้ระบบไอเสียโล่งขึ้น คุณจะได้ช่วงรอบต่ำที่แย่ลงแต่ตั้งแต่รอบกลางขึ้นไปดีขึ้น ถ้าคุณทำให้โล่งขึ้นอีกโล่งมากๆ กลางขึ้นไปทางสูงดีขึ้นอีก (และช่วงรอบต่ำแย่ลงอีก) แต่ปลายสุดจะแย่ลง
กลับกัน ถ้าคุณทำให้ระบบไอเสียอั้นกว่าของเดิมโรงงาน ช่วงรอบต่ำจะดีขึ้นจากของเดิมโรงงาน แต่ตั้งแต่กลางขึ้นไปจะแย่ลง ปลายจะลดลง
รถยนต์ที่เน้นสมรรถนะสูงๆ เขาจึงต้องใช้วิธีปรับขนาดรูท่อให้เหมาะสมกับรอบเครื่อง
ท่อสูตร VCE มาในลักษณะนี้ ใช้วิธีปรับขนาดรูท่อไอเสียตามรอบเครื่อง โดย ภายในจะมีลิ้น (คล้ายลิ้นปีกผีเสื้อ) ใช้ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนขนาดรูท่อได้ ในขณะที่หม้อพักต่างๆ จะไม่มีลิ้นดังกล่าว ในขณะที่ท่อหม้อพักต่างๆ จะมีใยแก้วข้างในและจะมีท่อข้างในเพื่อให้ไอเสียไหลผ่านและมีรูรอบๆ ท่อไอเสียดังกล่าวแต่ท่อไอเสีย VCE ข้างในจะไม่มีรูพลุนและจะไม่มีใยแก้วเพื่อดูดซับเสียง แต่ภายในท่อไอเสีย VCE มีเฉพาะลิ้นเท่านั้น (คล้ายๆ ลิ้นปีกผีเสื้อแต่ขณะเปิดสุดจะไม่ขวางทางเดินไอเสีย) ลิ้นนี้ยึดติดกับบานพับสแตนเลสขนาดใหญ่ (ใช้แบบเหล็กไม่ได้จะเป็นสนิมและติดขัด) โดยห้อยแขวนอยู่ทีด้านบนสุดภายในท่อ ขณะเปิดกว้างสุดสามารถเปิดได้กว้างถึงเกือบ 3 นิ้ว
ท่อสูตร VCE มีความยาวเบ็ดเสร็จประมาณ 8 นิ้ว ทางเข้า/ออก (มีทั้งแบบเป็นเหล็กภายในเคลือบกัลวาไนซ์ป้องกันสนิม และแบบที่ทางเข้า/ออกเป็นสแตนเลส)
ทางเข้าออกยาวประมาณ 1.5 นิ้ว หน้าตัดกว้าง 2.5 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว ตรงป่องกลางเป็นสแตนเลสซึ่งภายในมีลิ้นเปิดและหรี่ได้จะมีหน้าตัดกว้าง 3 นิ้ว
การทำงานของท่อสูตร VCE ช่วงรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ลิ้นดังกล่าวจะหรี่รูท่อลงมาให้เหลือขนาดเล็ก เพื่อให้ไอเสียที่ไหลเอื่อยๆ ในรอบเครื่องต่ำๆ ไหลเร็วขึ้น เมื่อไอเสียไหลเร็วขึ้น การประจุทางได้ไอดีก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็จะได้แรงบิดสูงขึ้นและมาที่รอบเครื่องต่ำกว่าเดิมมาก
เมื่อเรากดคันเร่งรอบเครื่องสูงขึ้น แรงดันไอเสียที่สูงขึ้นจะเอาชนะแรงดึงของลิ้นที่ถูกดึงเอาไว้ในรอบเดินเบา (ลิ้นจะถูกแรงดึงดูดจากแม่เหล็กแรงสูง Neo Dymium ซึ่งอยู่ด้านนอกท่อดึงไว้/ไม่ใช้สปริงเพราะจะทำงานไม่คงเส้นคงวา) แรงดันไอเสียทีสูงขึ้นก็จะดันให้ลิ้นเปิดอ้าขึ้นไปได้เรื่อยๆ ตามรอบเครื่องที่สูงขึ้น การไหลของไอเสียซึ่งมีขนาดพอดีกับรอบเครื่องเหล่านั้นก็จะไหลได้เร็วกว่าเดิมพุ่งไวกว่ารูท่อไอเสียที่มีขนาดคงที่
ไหลได้ไวกว่ารูท่อไอเสียที่ออกแบบมาจากโรงงาน (คิดรวมถึงระบบท่อไอเสียทั้งหมดแต่เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ขอระบุเฉพาะขนาดรูท่อไอเสีย) ไหลได้ไวกว่ารูท่อไอเสียที่ถูกทำให้โล่งมากๆ เพราะถ้ารูท่อใหญ่ไปที่รอบต่ำไอเสียก็จะยิ่งไหลเอื่อยๆ มากขึ้น ในรอบสูงสุดก็เช่นกันถ้าระบบโล่งมากๆ ไอเสียที่ไหลได้ปริมาณพอแล้วก็จะไม่มีแรงดันให้ไหลได้พุ่งมากขึ้นปลายก็ตกได้ ระบบไอเสียของรถเขาจะออกแบบมาโดยเฉลี่ยระหว่างช่วงรอบเครื่องสูงสุดกับรอบเครื่องตั้งแต่เดินเบาขึ้นไป (ซึ่งหยาบเกินไปจึงให้ผลไม่ดีเต็มที่) จากทฤษฎี ที่ว่า รูท่อขนาดใหญ่จำกัดกำลังในช่วงรอบต่ำแต่ให้กำลังได้เต็มที่ในช่วงรอบสูง และกลับกัน รูท่อขนาดเล็กจะเพิ่มกำลังในช่วงรอบต่ำแต่จำกัดกำลังในช่วงรอบสูง
จากหัวข้อ High Performance
and road car exhaust theory
จากลิงค์
http://www.formula1-dictionary.net/exhaust_road_perf.html High performance
and road car exhaust theory
…….Longer pipes tend to increase power below the engine’s torque peak and shorter pipes tend to increase power above the torque peak.
…….Large diameter pipes tend to limit low-range power and increase high range power.
Small diameter pipes tend to increase low-range power and to some degree limit high-range power.
"Balance" or "equalizer" chambers between the exhaust pipes tend to flatten the torque peak(s) and widen the power band.
และให้ดูความแตกต่างระหว่างท่อที่ขนาดรูท่อเล็กกับท่อที่มีขนาดรูท่อใหญ่ว่าจะให้แรงบิด (Torque) และแรงม้า (Horse Power) แตกต่างกันอย่างไร
จากลิงค์
http://forums.pelicanparts.com/porsche-911-technical-forum/397077-value-back-pressure-exhaust.html The value of back pressure in exhaust
Here you can see a couple of dyno runs comparing some different exhausts, you can see the effects on a V8 but a flat 6 will be similarly affected / Bill Verburg
ซึ่งวิศวกรที่ออกแบบท่อไอเสียของโรงงาน (รวมทั้งหม้อพักและแคทซึ่งรวมๆ กันเป็นระบบท่อไอเสีย) ซึ่งติดตั้งมากับรถยนต์แต่ละรู่น ก็จำเป็นจะต้องใช้ค่าเฉลี่ยเพื่อให้ช่วงรอบสูงดี (แต่ไม่ใช่ดีที่สุด) และช่วงรอบต่ำมารอบกลางที่ดี (แต่ก็ไม่ใช่ดีที่สุดอีกเช่นกัน) นั่นคือเป็นค่าเฉลี่ยกลางๆ
ทีนี้ ประกอบด้วยเครื่องยนต์ก็ชอบที่จะให้แรงบิดดีๆ (แรงบิด หรือ Torque คือแรงกระชากที่มีผลต่ออัตราเร่ง) ก็เฉพาะตั้งแต่รอบกลางๆ ไปทางสูงกันเป็นส่วนใหญ่
สังเกตจากรถที่เริ่มมีกำลังพุ่ง ประมาณรอบเครื่องทื่ 1600 รอบขึ้นไป หรือตั้งแต่ 1800 รอบ หรือ มากกว่า 2000 รอบก็มี มีน้อยที่เริ่มพุ่งตั้งแต่ 1300 รอบหรือต่ำกว่านี้
ดังนั้น เมื่อท่อสูตร VCE ซึ่งเพียงแค่ติดตั้งเพิ่มเข้าไปเฉยๆ เท่านั้น ด้วยลิ้นภายในที่หรี่ลงมาในรอบเดินเบา (แม้ขณะหรี่ก็มีช่องด้านข้างๆ ลิ้นให้ไอเสียออกได้) และเริ่มเปิดนิดๆ เมื่อเริ่มออกตัวด้วยรอบเครื่องต่ำๆ ซึ่งด้วยขนาดรูท่อที่เล็กลงไอเสียก็จะไหลได้เร็วกว่าประจุไอดีได้เร็วและมากกว่าจึงได้แรงบิดเพิ่มขึ้น แรงบิดเพิ่มกำลังเพิ่มรถก็พุ่งขึ้นมากกว่า (ตั้งแต่รอบเครื่องเดินเบาขึ้นไปถึงรอบเครื่องกลางๆ ) รอบก็ขึ้นเร็วกว่าสัมพันธ์กับความเร็วที่ขึ้นเร็วกว่า (เครื่องที่มีวัดรอบจะเห็นเข็มความเร็วขึ้นเร็วใกล้เคียงกับเข็มวัดรอบมากขึ้น /จากเดิมที่จะเห็นเข็มวัดรอบล่วงหน้าไปก่อนมากๆ ก่อนเข็มความเร็วจะค่อยๆ ไล่ไปได้)
ผลที่ได้แบบนี้ จากแรงบิดที่เพิ่มขึ้นในรอบเครื่องที่ต่ำลง ทำให้ขับรถในช่วงความเร็วต่ำๆ และความเร็วกลางๆ ได้คล่องตัวมากขึ้น มีเรี่ยวแรงให้ใช้งานในช่วงความเร็วเหล่านี้มากขึ้น ยังมีผลให้ประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีขึ้น เพราะการรอรอบน้อยลง (จากแรงบิดเพิ่ม) เหยียบคันเร่งน้อยลงแต่รถมีแรงมากกว่าก็ไม่ต้องกดลึกเพื่อคิีกดาวน์ก็ได้เวลาจะเร่งแซง
นอกจากนั้นช่วงที่เราถอนคันเร่ง ลิ้นที่ค่อยๆ ตกลงมาตามรอบเครื่องที่ค่อยๆ ลดลง ไอเสียที่กำลังไหลผ่านขนาดรูท่อที่ค่อยๆ เล็กลงมาก็จะมี Back Pressure สูงขึ้นตามรอบเครื่องที่ต่ำลง ตอบสนองตามความต้องการของเครื่องยนต์อย่างแท้จริง รถก็จะยังคงลอยตัวไม่ลดความเร็วลงอย่างฮวบงาบ ไม่วูบ
นั่นคือ ให้ผลดีกว่าทั้งในช่วงเหยียบคันเร่งและถอนคันเร่ง
จากการที่ลิ้นสามารถเปิดกว้างขึ้นไปเรื่อยๆ ในช่วงรอบกลางและรอบสูง ระบบท่อไอเสียของรถบางช่วงที่แรงบิดตกลงไป (เช่นในรอบสูงๆ บางช่วงและรอบเครื่องที่ค่อนข้างสูง) ลิ้นในท่อไอเสีย VCE ที่จัดการกับขนาดรูท่อได้เหมาะสมที่สุด ในเกียร์ MT จะสามารถลากรอบได้สูงกว่าเดิม (ก่อนที่กำลังจะตก) ช่วงนี้จะได้แรงบิดและแรงม้าเพิ่มด้วย (แม้จะไม่มากแต่ก็มีผลมาก ดูจากตัวเลขการลากรอบที่มากกว่าเดิมไม่น้อยกว่า 1000-2000 รอบเครื่อง)
ซึ่งเกียร์ AT ก็จะมีผลแบบเดียวกัน แรงบิดเพิ่มก็เปลี่ยนเกียร์เร็วขึ้น เช่นเดิมเปลี่ยนเกียร์ที่ 2500 รอบก็ลดมาเป็น 2000 รอบ ช่วงรอบเครื่องต่ำๆ แถวๆ 1000 รอบจากเดิมที่เหยียบคันเร่งเยอะคันเร่งจมๆ ก็จะหนักแน่นขึ้น ไม่โหวงๆ กดคันเร่งลงไปรถก็จะตอบสนองทันทีจากของเดิมจะตอบสนองก็ต่อเมื่อคันเร่งต้องจมลงไปอีกและไม่สามารถตอบสนองได้ทันที
รูปท่อไม่สวยงามครับ (โชว์เอาสวยงามไม่ได้) ขัดแย้งกับคุณภาพที่มันให้ได้ในจุดซึ่งของเจ้าอื่นไม่สามารถทำได้แบบนี้หรือเทียบเท่าได้ด้วยข้อจำกัดที่เป็นระบบรูท่อคงที่ทั้งหมด
สนใจติดต่อสั่งซื้อไปให้ร้านท่อไอเสียใกล้บ้านท่านติดตั้งให้ก็ได้ครับ (มีคู่มือบอกและที่ตัวท่อจะเขียนบอกทางเข้า-ออกและด้านล่างไว้พร้อมรูปประกอบ)
โดย แบบทางเข้า/ออกเป็นเหล็ก (ภายในเคลือบกัลวาไนซ์) ป่องกลางเป็นสแตนเลส ราคา 3600 บาท
แบบทางเข้า/ออกเป็นสแตนเลส (เหมาะสำหรับท่านที่เดินท่อสแตนเลส) ราคา 4300 บาท
ถ้าให้ติดตั้งให้ด้วย เพิ่ม 300 บาทครับ ติดต่อล่วงหน้าที่พี่พร 0851423903 (เท่านั้นครับ)
ร้านที่ติดตั้งกันประจำมีที่ ลำลูกกาคลอง 2 (นัดเจอที่โลตัสคลองสองลำลูกกา เข้าไปทางเส้นลำลูกกาจากปากทางธูปเตมีย์ประมาณ 3 กม.) พุทธมณฑลสาย 4 (เข้าไปทางเส้นบรมราชชนนีฯ ประมาณ 5 กม. นัดเจอที่ปั๊ม ปตท. NGV ฝั่งเดียวกัน ถ้าเข้าทางเพชรเกษมข้ามไฟแดงที่ 2 ก็กลับรถไปปั๊มปตท. NGV ฝั่งตรงกันข้ามร้านท่อจะอยู่ใกล้ๆ กัน) บรรทัดทอง และ สามเสน
ติดต่อล่วงหน้าที่พี่พร 0851423903 (เท่านั้นครับ)
รูปท่อ VCE แบบทางเข้าออกเป็นเหล็กป่องกลางสแตนเลสจะแบบนี้ครับ (ตัวควบคุมด้านนอกท่อปัจจุบันพันด้วยผ้ากันความร้อนชนิดกันได้ 1200 องศา 4 ชั้นให้ความทนทานต่อแม่เหล็กแบบใหม่ (ทนความร้อนสูงกว่านีโอไดเมี่ยมที่ใช้อยู่เดิมสองเท่า)ที่อยู่ภายในได้ดีที่สุดจนไม่เกิดปัญหาอย่างที่ผ่านมาครับ)