สายพานไดร์ชาร์จ Isuzu แนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ 100,000 Km.
สายพานไดร์ชาร์จ เป็นสายพานเส้นนึงที่อยู่หน้าเครื่อง ของเครื่องยนต์ Isuzu
Commonrail สายพานเส้นนี้ไม่มีอายุการเปลี่ยนที่แน่นอน เนื่องจากในคู่มือไม่ได้
ระบุระยะทาง หรือระยะเวลาในการเปลี่ยนเอาไว้ ต้องอาศัยการตรวจดูสภาพภายนอก
เป็นหลักเท่านั้น ซึ่งเหตุนี้เอง ทำให้ผู้ใช้รถหลายคน หลงลืมไปเลยว่าต้องเปลี่ยน
สายพานเส้นนี้เมื่อถึงระยะที่เหมาะสม
ข้อแนะนำ : สายพานคอมแอร์ แนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ 50,000 Km. ส่วนใหญ่ที่เปลี่ยน
เนื่องจากว่า ทนเสียงดังรำคาญไม่ไหวมากกว่า ราคาพร้อมเปลี่ยนไม่เกิน 350 บาท
ข้อแนะนำ : สายพานไดร์ชาร์จ แนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ 100,000 Km. เนื่องจากว่า
ไหนๆ ก็เปลี่ยนสายพานคอมแอร์แล้ว ก็เปลี่ยนสายพานไดร์ชาร์จที่ระยะนี้พร้อมกัน
ไปด้วยเลย เพราะว่าการถอดสายพานไดร์ชาร์จออกมาได้ ต้องถอดสายพานคอมแอร์
ออกมาก่อนนั้นเอง ราคาพร้อมเปลี่ยนไม่เกิน 500 บาท
สาเหตุที่แนะนำให้เปลี่ยนสายพานไดร์ชาร์จทุกๆ 100,000 Km. ก็เนื่องมาจากว่า
มันน่าจะเป็นระยะที่เหมาะสมพอสมควรกับการใช้งาน กับราคาพร้อมเปลี่ยนไม่เกิน
500 บาท จากที่เคยเจอพบว่า รถบางคันที่ระยะ 120,000 Km. สายพานไดร์ชาร์จ
สภาพก็ยังพอใช้งานได้อยู่ แต่ก็เริ่มแตกลายงาบางแล้ว และล่าสุดที่เจอมา คือ
สายพานไดร์ชาร์จขาด ที่ระยะทาง 160,000 Km. ซึ่งสายพานเส้นนี้เป็นสายพานเดิม
ติดรถ และใช้งานมา 4 ปีแล้ว
1. สภาพสายพานไดร์ชาร์จขาด ขณะที่รถวิ่งอยู่ ที่ระยะทาง 160,000 Km. ดังรูป
แต่รถยังสามารถติดเครื่องวิ่งต่อมาได้ เนื่องจากยังมีประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่นั้นเอง
ถึงแม้ว่าตอนนั้น ไดร์ชาร์จไม่ได้ทำการชาร์จไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่แล้ว ถ้าสาย
พานขาดกลางทาง ต้องรีบหาร้านเพื่อที่จะทำการแก้ไขในทันที เพราะว่าเราไม่มีทาง
รู้ได้เลยว่า รถยนต์จะสามารถวิ่งต่อไปได้อีกไกลแค่ไหน ต้องไม่ลืมว่าแม้ว่ามีน้ำมัน
เต็มถังก็จริง แต่ไม่มีไฟเลี้ยงกล่อง ECM ที่รับมาจากแบตเตอรี่อีกต่อนึง รถยนต์ก็ไป
ไหนไม่ได้อยู่ดี

2. ซ้ายมือ สภาพสายพานไดร์ชาร์จของใหม่ กับขวามือ สภาพสายพานไดร์ชาร์จที่
ขาดคาเครื่องยนต์ ยังดีที่ตอนสายพานขาดไม่ได้ สร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์
ข้างเคียง และรถยังสามารถขับมาต่อได้ เนื่องจากใช้แรงดันไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
ที่ยังเหลืออยู่ เพราะว่าตอนนั้น ไดร์ชาร์จไม่ได้ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่แล้ว เนื่องจาก
สายพานไดร์ชาร์จขาดนั่นเอง หากเห็นว่าสภาพไม่ดี ควรที่จะทำการเปลี่ยนเลย
ไม่อย่างนั้นมีลุ้นกลางทางแน่นอน

3. หากพบว่าสายพานไดร์ชาร์จ เริ่มแตกลายงา และใช้งานมาพอสมควรแล้วทั้งจาก
อายุของสายพาน และจากระยะทางที่ใช้งานมา ก็ถึงเวลาที่จะต้องทำการเปลี่ยนกัน
ได้แล้ว

4. นี้คือสภาพสายพานไดร์ชาร์จที่ใช้งานผ่านมาระยะ 100,000 Km. อายุสายพาน
ผ่านมาแล้ว 3 ปี จากสภาพยังดูดีอยู่เลย แต่ไม่เอาแหละ เปลี่ยนใหม่ดีกว่า ไม่อยาก
ไปลุ้นระหว่างทาง ส่วนเส้นเก่าก็เอาติดรถเอาไว้ เพื่อเราเอาไว้ใช้เอง หรือให้คนอื่น
ใช้งาน ในกรณีที่รถคนอื่น เขางานเข้า

5. เปลี่ยนสายพานเส้นใหม่ ก็เหมือนได้เริ่มนับอายุการใช้งานกันใหม่ เปลี่ยนเมื่อตอน
ที่พร้อม ก็ยังดีกว่าโดนบังคับเปลี่ยนระหว่างทาง อย่าลืมทำการจดบันทึกทุครั้งที่มีการ
เปลี่ยนอะไหล่ เพื่อเป็นสอบทวนย้อนหลัง ระยะเวลาที่ทำการเปลี่ยนอะไหล่กันได้

6. รูปด้านล่างนี้เป็นสายพานหน้าเครื่องของรถยนต์ Isuzu D-Max รุ่นปี 2005-2011
ส่วนรถยนต์รุ่นใหม่ All New Isuzu D-Max รุ่นปี 2012 ขึ้นไป ลักษณะสายพานจะ
คล้ายกัน ต่างกันที่มีความยาวมากกว่านั้นเอง
Isuzu D-Max รุ่นปี 2005-2011 สายพานคอมแอร์ รหัส 12.5x1375 หรือ V13x1360
Isuzu D-Max รุ่นปี 2005-2011 สายพานไดร์ชาร์จ รหัส 7PK990
All New Isuzu D-Max รุ่นปี 2012 ขึ้นไป สายพานคอมแอร์ P/N : 8-97985121-0
All New Isuzu D-Max รุ่นปี 2012 ขึ้นไป สายพานไดร์ชาร์จ รหัส 7PK1020
