เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันอากาศในเมืองไทยมี อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ และความร้อนนี้ยังส่งผลต่อระดับอุณหภูมิภายในห้องโดยสารของรถยนต์ ดังนั้นเพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้องโดยสาร เครื่องปรับอากาศภาย ในรถยนต์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องทำงาน หนัก สำหรับรถใหม่เครื่องปรับอากาศยังใช้งานได้ดี แต่เมื่อใช้ไปเป็นเวลานาน (ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพการใช้งาน) ประสิทธิภาพในการให้ความเย็นจะลดลง ดังนั้นผู้ใช้รถจึงควรรู้จักวิธีใช้ และการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อ ถนอมและรักษาอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ให้ยาวนานที่สุด
วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ที่ถูกต้อง
1. ทุกครั้งก่อนที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ ควรตรวจดูสวิตช์ควบคุมคอมเพรสเซอร์ (ปุ่ม A/C) ว่าอยู่ใน ลักษณะใด เปิดหรือปิด ถ้าหากเปิดอยู่ให้กดปิดเสียก่อนที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้ คอมเพรสเซอร์ต้านทานการหมุนของเครื่องยนต์ในขณะสตาร์ท
2. เมื่อเครื่องยนต์ติดเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดสวิตช์พัดลมของเครื่องปรับอากาศก่อน โดยปรับไปที่ตำแหน่ง ความเร็วสูงสุด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที เพื่อไล่ลมร้อนจากช่องปรับอากาศ หลังจากนั้นจึงเปิดสวิตช์ ควบคุมคอมเพรสเซอร์ (ปุ่ม A/C) ปรับสวิตช์ที่ใช้ปรับระดับความเย็นไปที่ตำแหน่งเย็นสุด แล้วจึง ปรับสวิตช์ควบคุมความเร็วของพัดลม และสวิตช์ควบคุมระดับความเย็นลงสู่ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับ อุณหภูมิภายในห้องโดยสารตามต้องการ
3. เมื่อเลิกใช้งานก่อนที่จะดับเครื่องยนต์ ควรปิดสวิตช์คอมเพรสเซอร์ (ปุ่ม A/C) ก่อนเพื่อหยุดการทำ งานของคอมเพรสเซอร์ แต่ยังคงเปิดสวิตช์พัดลมแอร์ไว้ในตำแหน่งที่แรงสุดเพื่อให้พัดลมแอร์เป่าลม ผ่านตัวคอยล์เย็น หรือที่รู้จักกันดีว่า “ตู้แอร์” ซึ่งตัวคอยล์เย็นนี้จะมีสภาพที่เปียกชื้น และมีหยดน้ำมา เกาะอยู่ในขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน และเพื่อเป็นการไล่ความชื้นออกจากตัวคอยล์เย็นให้เร็วขึ้น วิธี นี้เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดความอับชื้นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แอร์มีกลิ่น เหม็นอับ รวมทั้งยังช่วยยืดอายุ การใช้งานของตัวคอยล์เย็นให้ผุกร่อนช้าลงกว่าเดิม ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น
สำหรับปัญหาการเกิดกลิ่นอับที่ออกมาจากช่องปรับ อากาศสามารถแก้ไขได้โดย จอดรถในที่โล่งแจ้ง ที่แดดส่อง ได้อย่างทั่วถึง จากนั้นเปิดประตูรถให้หมดทุกบาน จอดรถตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือจนกว่ากลิ่น อับจะจางหายไป แต่ถ้ากลิ่นอับยังคงรุนแรงเหมือนเดิม ควรนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน