ผู้เขียน หัวข้อ: วางแผน ภาษีขายออนไลน์ เริ่มอย่างไรดี!  (อ่าน 14 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Callalily

  • กำลังสะสมไมล์
  • *
  • กระทู้: 17
  • คะแนน Like 0
  • จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเล่น: Lily
 


สำหรับใครที่ต้องการศึกษาหาข้อมูลก่อนจดทะเบียนบริษัท  นรินทร์ทอง แนะนำว่าให้อ่านบทความนี้ เพราะทางเราได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการ จดบริษัทออนไลน์ กับ DBD Biz Regist รวมถึงการจัดเตรียมเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนอย่างละเอียด
อ่านวิธีการเริ่มต้น วางแผน ภาษีขายออนไลน์ แบบละเอียด คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่


ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีไหม?

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า ขายออนไลน์เสียภาษี ไหม? ขอตอบเลยว่า ต้องเสียภาษี โดยพิจารณาจากยอดขายในแต่ละเดือนว่า ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งรายได้ที่มาจากการขายของออนไลน์ จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม. 40 (8)
วิธีวางแผน ภาษีขายออนไลน์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ก่อนว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ หรือต้องเสียกี่เปอร์เซ็นต์? โดยปกติแล้วในกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นภาษี เมื่อมีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาษีที่ต้องชำระ และผู้มีรายได้ตั้งแต่ 310,000 บาทขึ้นไป ต้องยื่นภาษีและเข้าข่ายเสียภาษี
เรียนรู้วิธีการวางแผนเสียภาษีฉบับเต็ม คลิกอ่านเพิ่มเติมที่บทความ นรินทร์ทอง


การคำนวณรายได้


1. ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ตามอัตราขั้นบันได
สำหรับการคำนวณภาษีวิธีนี้ สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลบได้ 2 แบบ คือ
1.1 หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของยอดขาย วิธีนี้เหมาะกับร้านค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนน้อย
1.2 หักตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง วิธีนี้จะต้องเก็บรวบรวมหลักฐานค่าใช้จ่าย เหมาะกับร้านค้าที่มีต้นทุนสูง
2. ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้ x 0.5%
วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่เรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี และ เมื่อลองคำนวณออกมาเปรียบเทียบกันแล้วคุ้มค่ากว่าคำนวณวิธีที่ 1

ค่าใช้จ่าย

1. หักแบบเหมา 60%  แปลว่า กำไรขั้นต้นของประกอบกิจการ คือ 40% วิธีนี้จะไม่ต้องเก็บเอกสารใดๆ แต่กำไรที่ใช้คำนวณภาษีอาจจะไม่ตรงกับความจริง
2. เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง  สำหรับกำไรขั้นต้น น้อยกว่า 40% ต้องเตรียมตัวเรื่องเอกสาร ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี, บิลเงินสด, ใบสำคัญรับเงิน และ สำเนาบัตรประชาชน

ค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ
1. กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
  • ส่วนตัว 60,000 บาท
  • คู่สมรส 60,000 บาท
  • บุตร (คนละ) 30,000 บาท
  • ค่าฝากครรภ์ + คลอดบุตร 60,000 บาท
  • พ่อแม่ (คนละ) 30,000 บาท
  • ผู้พิการทุพพลภาพ 60,000 บาท
2. กลุ่มเงินบริจาค
  • ทั่วไป ไม่เกิน 10% (ตามที่จ่ายจริง)
  • การศึกษา กีฬา 2 เท่าของเงินบริจาค
    พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะ และ รพ.รัฐ (สูงสุดไม่เกิน 10%)
  • พรรคการเมือง 10,000 บาท
3. กลุ่มประกันและการลงทุน
  • ประกันสุขภาพ 25,000 บาท
  • ประกันชีวิตทั่วไป + สะสมทรัพย์ 100,000 บาท
*รวมไม่เกิน 100,000 บาท*
  • ประกันสังคม 9,000 บาท
  • ประกันสุขภาพพ่อแม่ 15,000 บาท
  • RMF 30% ของเงินได้
  • SSF 30% ของเงินได้
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสงเคราะห์ครูฯ 15% ของเงินได้
  • กบข. 30% ของเงินได้
  • เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ 15% ของเงินได้
  • กองทุนการออมแห่งชาติ ไม่เกิน 30,000 บาท
*รวมไม่เกิน 500,000 บาท*
4.  กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท
  • ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย 100,000 บาท
  • เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม 100,000 บาท

ตัวอย่างการคำนวณ และ วิธีคิด
แบบที่ 1 นาย A ขายของออนไลน์ และไม่ได้จดทะเบียนบริษัท นาย A มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 600,000 บาท และไม่มีค่าลดหย่อน นาย A จะคำนวณได้ดังนี้
1,000,000 – 600,000 – 0 = 400,000 บาท นาย A จึงนำรายได้ 400,000 บาท คูณอัตราภาษี โดย 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นนาย A จะต้องนำรายได้ 250,000 บาท คูณอัตราภาษีขั้นแรกคือ 5% เท่ากับนาย A จะต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเงิน 12,500 บาท
แบบที่ 2 นาย B ขายของออนไลน์ และจดทะเบียนบริษัท นาย B มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 600,000 บาท และไม่มีค่าลดหย่อน นาย B จะคำนวณได้ดังนี้
1,000,000 – 600,000 – 0 = 400,000 บาท นาย B จึงนำ 400,000 บาท คูณอัตราภาษี โดย 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นนาย B จะต้องนำรายได้ 100,000 บาท คูณอัตราภาษีขั้นแรกคือ 15% เท่ากับนาย B จะต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท

รายได้เท่าไหร่ ควรจดบริษัท
สำหรับบุคคลธรรมดา หากมีรายได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีร้อยละ 20 แต่ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล หากมีกำไรสุทธิอยู่ในช่วง 750,001 - 1,000,000 บาทต่อปี จะเสียภาษีร้อยละ 15 แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กมีกำไรไม่เกิน 500,000 ต่อปี อาจยังไม่คุ้มเท่าไรสำหรับการจดทะเบียนบริษัท

รายได้เท่าไร ต้องจดมูลค่าเพิ่ม


ไม่ว่าจะอยู่ในนามบุคคลธรรมดา หรือในนามนิติบุคคล เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการในปีนั้นเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสิ่งเหล่านี้มีเหตุผลที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ข้อ คือ
1. ร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีความพร้อมการจัดเก็บเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน และสามารถขอเอกสารจากผู้ขายได้
2. บุคคลที่เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเลิก VAT ยากกว่านิติบุคคล เช่น บริษัทต้องการเลิกกิจการ สามารถแจ้งเลิกพร้อม VAT ได้เลย แต่บุคคลธรรมดาไม่สามารถแจ้งเลิกกิจการได้ แต่ต้องยื่น VAT ต่อไปอีก 3 ปี
ศึกษาข้อมูลการเสียภาษีขายออนไลน์    คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่



วางแผน ภาษีขายออนไลน์ เลือกผู้เชี่ยวชาญด้านการทำบัญชีและภาษี นรินทร์ทอง

จะเห็นว่า การวางแผน ภาษีขายออนไลน์ สำหรับอาชีพขายของออนไลน์ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราสามารถบริหารค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนต่างๆ ทางภาษี และกำหนดแนวทางการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการวางแผนภาษีขายออนไลน์ เราขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339