สำหรับผู้ประกอบการคลินิกเสริมความงามท่านใด ที่กำลังศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษีที่ต้องเสียหลังเปิดคลินิกเสริมความงาม เพราะมีข้อสงสัยว่า คลินิกความงามเสียภาษีอะไรบ้าง? ในบทความนี้ นรินทร์ทอง ได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้คุณแล้ว!
รายได้ ค่าใช้จ่าย หลังเปิดคลินิกเสริมความงาม
การประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงาม สามารถทำได้ทั้งในนามบุคคลธรรมดา และแบบจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่แนวทางการบริหารจัดการจะมีความแตกต่างกันบางส่วน ทั้งในเรื่องของรายได้ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง รายได้ และ ค่าใช้จ่าย ของกิจการคลินิกเสริมความงามหลักๆ ที่ต้องเสียจะมีรายละเอียดดังนี้
- รายได้ - แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รายได้โดยตรง และ รายได้เสริมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น รายได้ที่เกี่ยวกับการศัลยกรรมใบหน้า หรือ การรักษาดูแลผิวพรรณ, ฉีดโบท็อกซ์ รวมถึงค่าบริการที่ปรึกษาแพทย์
- ค่าใช้จ่าย - มีทั้งแบบเกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง และ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ เช่น ค่าจ้างแพทย์ประจำ, แพทย์ Part-time, ผู้ช่วยแพทย์, เงินเดือนพนักงาน, ค่าเช่า, ค่าซ่อมแซม และอื่นๆ
ภาษีที่สำคัญ สำหรับคลินิกเสริมความงาม
นอกจากรายได้และค่าใช้จ่ายที่ได้อธิบายไว้ในข้างต้นแล้ว คลินิกเสริมความงามยังต้องเสียทั้งภาษีเงินได้อีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีความซับซ้อนยุ่งยากกว่านิติบุคคล เนื่องจากรายได้ของคลินิกมีหลายช่องทาง โดยวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องนำรายได้ทั้งหมดตลอดปีมารวมคำนวณภาษี อัตราภาษีสูงสุด 35% โดยมีสูตรคำนวณ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย (สำหรับรายได้ไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อปี)
แบบที่ 2 รายได้ (ยกเว้นเงินเดือน) x 0.5% (สำหรับรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี)
เมื่อได้ผลลัพธ์แล้ว ให้นำผลลัพธ์ที่ได้ตัวเลขมากกว่าไปยื่นภาษี ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง คือ ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) และ ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.90)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ในส่วนของรายได้และค่าใช้จ่าย รวมถึงการเสียภาษีคลินิกเสริมความงาม ต้องคำนวณจากกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว โดยใช้วิธีคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิ อัตราสูงสุด 20% พร้อมส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และส่งภาษีให้กับกรมสรรพากร
เรียนรู้วิธีการเสียภาษีเงินได้ แบบบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล เพิ่มเติม
คลิกที่นี่ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับคลินิกเสริมความงาม
รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายได้จากการประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยกิจการต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ซึ่งได้ให้บริการแก่ผู้ป่วย ณ สถานประกอบการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
รายได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มคือรายได้อื่นๆ ของคลินิกเสริมความงาม ที่ได้รับโดยไม่ต้องมีข้อแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การขายอาหารเสริม การขายครีมบำรุง เป็นต้น
ทำความเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับคลินิกเสริมความงาม เพิ่มเติม
คลิกที่นี่สรุป คลินิกความงามเสียภาษีอะไรบ้าง ให้ นรินทร์ทอง ช่วยวางแผน
หลังจากที่ได้ทราบถึงข้อมูลการเสียภาษีทั้ง 2 รูปแบบ ของคลินิกเสริมความงามแล้ว นอกจากเรื่องภาษีที่ทางเราได้อธิบายไว้ในข้างต้น ยังมีภาษีที่เกี่ยวข้องอีกมากมายที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้ธุรกิจคลินิกเสริมความงามเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด หากผู้ประกอบการคลิกนิกความงามท่านใด ที่กำลังมองหาสำนักงานบัญชีได้มาตรฐาน จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษีโดยตรง ขอแนะนำ
บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
- การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
- รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
- งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
- ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่…
Facebook :
NarinthongOfficialE-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line :
@NarinthongTel : 081-627-6872 , 02-404-2339