emo35เพื่อก่อให้เกิด ความเป็นสิริมงคล ซึ่งจะนำไป สู่ความสำเร็จ <= คือจุดประสงค์ และจุดมุ่งหมายของการเจิม
ในอดีตทั้งพระ และฆราวาสหากประสงค์ จะเป็นเจ้าพิธีในการเจิม ต้องมีการครอบครู โดยอาจารย์ท่าน ให้ชำระกายให้บริสุทธิ์ รักษาพระไตรรัตน์สรณาคม นั่นอยู่ในศีลวัตร (ศีลห้า) พึงตั้งเครื่องบูชา มีบายศรีปากชาม สำรับหนึ่ง เงิน ๖ บาท ผ้าขาวผืนหนึ่ง ขันล้างหน้าใบหนึ่ง เมี่ยงหมาก ดอกบัว สิ่งละ ๕ กรวย ธูปเงิน ธูปทอง เทียนเงิน เทียนทอง สิ่งละ ๕ เล่ม แป้งหอม น้ำมันหอม สำหรับเจิม
ส่วนความหมายของจุดแต่ละจุดในการเจิมนั้น มีความหมายดังนี้
อุณาโลม หมายถึง องค์พระ ระหว่างเขียนจะมีการภาวนาว่า มา ปะ นะ ชา ยะ เต
๑ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า เอกะอะมิ หมายถึง คุณแห่ง พระนิพพานอันยิ่งใหญ่
๒ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า พุท โธ หมายถึง นามพระพุทธเจ้า
๓ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า มะ อะ อุ หมายถึง คุณแห่งแก้ว ๓ ประการ (พระรัตนตรัย) และอีกความหมายคือ พระไตรปิฎก
๔ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า ทุ สะ นิ มะ (หัวใจอริยสัจสี่) , นะ ชา ลิ ติ (พระสิวลี), อุ อา กา สะ (หัวใจเศรษฐี), นะ มะ อะ อุ (พระไตรปิฎก), นะ มะ พะ ทะ (ธาตทั้งสี่)
๕ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า นะ โม พุท ธา ยะ หมายถึง พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หรือคุณแห่งศีล ๕ มีพุทธคุณ
๖ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า อิ สฺวา สุ สุ สฺวา อิ หมายถึง คุณแห่งไฟ หรือพระเพลิง รวมทั้งหมายถึงคุณแห่งพระอาทิตย์
๗ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า สะ ธะ วิ ปิ ปะ สะ อุ หมายถึง คุณแห่งลม หรือพระพาย
๘ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ หมายถึงคุณแห่งพระกรรมฐาน คุณแห่งศีล ๘ คุณแห่งพระอังคาร
๙ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ หมายถึง คุณแห่งมรรค ๔ ผล ๔ และพระนิพพาน ๑
๑๐ จุด ใช้เขียนอักขระที่ว่า เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว หมายถึง คุณแห่งครูบาอาจารย์ คุณแห่งอากาศ หมายถึงคุณแห่งศีล ๑๐ หมายถึงคุณแห่งพระเสาร์ ๓๐ ทัศ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนจุดในการเจิม ของพระเกจิอาจารย์ จะไม่เท่ากัน แต่การลงจุดนั้นจะเขียนเป็น รูปสามเหลี่ยมเหมือนกัน โดยส่วนยอดของสามเหลี่ยมนั้นจะเป็นอุณาโลม ในขณะที่บางท่าน อาจจะเพิ่มอักขระบางตัวไว้เข้าไป ส่วนการบริกรรมพระคาถา ระหว่างการเจิมนั้น สุดแล้วแต่จะได้รับการถ่ายทอดมาจากอาจารย์อย่างไร เช่น ถ้า เจิม ๓ จุด อาจจะบริกรรมคาถา มะ อะ อุ หรือ แยกเป็น ๒ จุด ก่อน คือ พุท โธ ส่วนอีกจุดนั้นบริกรรมพระคาถา เอกะอะมิ
เจิม ๑๐ จุด อาจจะ บริกรรมคาถา เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว ครั้งเดียวเลยก็ได้ หรืออาจจะแยกเขียนเป็น ๔ แถว คือ ๔ จุด ล่างบริกรรมคาถาว่า ทุ สะ นิ มะ แถวถัดมา ๓ จุด บริกรรมว่า มะ อะ อุ แถวที่มี ๒ จุดบริกรรมว่า พุท โธ ส่วนแถวบนสุด ๑ จุด บริกรรมว่า เอกะอะมิ